คลัสเตอร์ฟันน้ำนม กลับบ้าน @ขอนแก่น

facebook_cover_roojink_2

คอลัมน์ “ รู้จริง ถิ่นเฮา”
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….

         ระทึก ต๊กกะใจ..เมื่อมีข่าวสะเทือนใจ …กลุ่มเด็กๆ ในศูนย์เด็กเล็ก ของอำเภอสีชมพู ขอนแก่น-บ้านเฮา ติดโควิด-19 เมื่อปลายเดือน มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา…..

        พอพาดหัวเสร็จ  เป็นอันจบข่าว รึไง…. เขย่าขวัญ แล้วต้อง ปลอดขวัญด้วยซิ..จึงจะเป็นจรรยาบรรณที่ดี ของสื่อ จริงไหม ….

        มะ…ขอเล่าเบื้องหลัง ให้เป็นประสบการณ์ และข้อเตือนใจ ในคราวเดียวกัน….

        ชีวิตประจำวันที่ต้องคลุกคลีกัน ในศูนย์เด็กเล็ก ระหว่างครูและลูกศิษย์ตัวน้อยของพวกเธอ ไม่ต่างกับ แม่-ลูก ที่ต้องดูแลกัน

        วันที่ 29 มิถุนายน 2564มื่อเชื้อ โควิด-19 แพร่กระจายตัว ไปถึง และพบว่า เข้าประชิตถึงตัวเด็กๆ และครู แล้ว สิ่งแรกที่ต้อง มา คือ “สติ” ว่าเราต้องทำอย่างไร ?  ประสานใคร ไปกันที่ไหน….

        เมื่อตอบโจทย์ และประสานกันลงตัว กลุ่มเด็กๆ จำนวน  34 คน ของทั้งศูนย์ฯ เป็นกลุ่มเสี่ยง ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก 11 คน มุ่งหน้า ไปที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ภายในบริเวณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   ส่วนกลุ่มที่ 2 จำนวน 23 คน และครู 8 คน  จึงถูกส่งตัวไปที่ โรงพยาบาลขอนแก่น  ด้วยรถตู้ ตามที่เห็นเป็นข่าวนั่นแหละ

        วันที่ 01 กรกฏาคม 2564 เด็กเล็ก วัย 2-3 ขวบ ชาย 12 หญิง 11 และ ครูหญิงล้วน  8 คน อายุระหว่าง  28-53 ปี ได้รับการวางแผน ในการรักษาตัว อย่างรัดกุม ของพี่หมอ และพี่พยาบาล

        แบ่งกระจายห้องพัก ออกเป็น 2 ห้อง เด็กๆ ครึ่งหนึ่ง อยู่กับคุณครู อีกครึ่งหนึ่ง  เด็กๆ จึงรู้สึกว่า ครูยังอยู่ใกล้ ไม่งอแง มาปิคนิคกันนะ โดยมี พี่พยาบาล อยู่ประจำ เข้าเวรดูแล คราวละ 7 คน ท่ามกลางพลังใจ ทุกคนที่เห็นข่าวนี้ เอาใจช่วยและชวนกัน ไปบริจาคของสำหรับเด็กๆ…..โถ..ลูกแม่

วันรุ่งขึ้น  คุณครู 2 คน มีอาการ จึงถูกแยก ให้ไปอยู่อีกห้อง และมีเด็ก 7 คน มีอาการ จึงต้องกินยาฟาวิพิราเวียร์ ส่วนเด็กคนอื่นๆ ที่ไม่มีอาการ ก็ทำทุกอย่างเป็นปกติ

        สามวันแรก ที่เข้ามาพักรักษาตัว แม่ของเด็กๆ มาร่วมให้กำลังใจ วนๆ อยู่รอบห้อง  ครูดูแล พี่พยาบาลในชุดอวกาศ เข้าไปเล่านิทาน ทำกิจกรรม พาออกกำลังกาย พวกเขายังต้องกินนม นอนตอนบ่าย ไร้เดียงสา  น่ารัก  ทำเอาพี่พยาบาล มุ่งมั่นที่จะทำทุกวิถีทาง ให้เด็กๆ ได้กลับบ้าน

        สิ่งที่ต้อง หลอกล่อกันบ้าง ก็ตอนต้องเจาะเลือด (แต่ก็เพียง 1 ครั้ง) ต้องวัดอุณหภูมิ วัดออกซิเจน เช้า-เย็น ทุกวัน งานนี้คุณครู ช่วยได้มาก

        อาหารการกิน เด็กๆ กินได้เป็นปกติ มีผู้ใหญ่ใจดี ขอมาเป็นเจ้าภาพ เกือบทุกมื้อ  ของบริจาคก็มากมาย ปริมาณเต็มห้องประชุม 2 ห้อง อย่าง นมเด็ก นมกล่อง ขวดนม ที่ล้างขวดนม ที่นอน หมอน ตุ๊กตา และอีกมาก

        วันที่ 13 กรกฏาคม 2564 ครบกำหนด 14 วัน พวกเขาทั้ง 34 คน และคุณครู 8 คน ได้เวลากลับบ้าน ยกคณะ ทุกคนปลอดโรค ปลอดภัย ทั้งครูและเด็กๆ  พี่พยาบาลยิ้มแฉ่ง ปลื้มใจ ในหน้าที่ ส่งทั้งคณะกลับบ้าน ที่อำเภอภูเวียง กลับสู่ครอบครัว อ้อมกอดของคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ย่า ตายาย

        ของบริจาค ถูกบริหารจัดการ อย่างสมน้ำใจ เด็กๆได้ของที่ใช้ในโรงพยาบาล กลับบ้านกันทุกคน ที่นอน ผ้าห่ม  ตุ๊กตา ของเล่น ปันส่วน ของกิน อย่าง นม ขนม และยังอีกมากนั้น ถูกจัดแบ่งไปให้ โรงพยาบาลในเครือข่าย ได้อีกหลายแห่ง กุศลกันทั่วหน้า

        ถอดบทเรียนของ เหตุครั้งนี้ คือ การพบเหตุเร็ว รักษาเร็ว ทุกคนปลอดภัย ความก้าวหน้าทางสาธารณสุข ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต คนไทย มีน้ำใจเสมอ ในยามขับคับ ยามมีทุกข์ภัย พวกเราไม่เคยทิ้งกัน อันเป็นบททดสอบ ที่คนไทย ไม่เคยสอบตก เรื่อง การมีน้ำใจ แม้แต่ครั้งเดียว…

        เชื่อว่า คลัสเตอร์ฟันน้ำนม คงได้ซึมซับ น้ำใจในวัยเยาว์ ของพวกเขา ในวันนี้ และจะส่งต่อน้ำใจ ในวันข้างหน้า กับคนรุ่นต่อๆ ไปด้วยเช่นกัน….

        งานนี้ โควิด-19 พ่ายน้ำใจไทย……..ท่ามกลาง ความเครียด ความกลัว ยังมีเรื่อง น่ารักๆ ปลอบประโลมใจ  สังคมดี สร้างด้วยมือเรา  หาใช่ วัคซีน ไม่….. อูยยยย…จบดีกว่า……

#โควิด-19 กี่รอบ กี่รอบ

เราจะรอดไปด้วยกัน

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง