ชป.6 เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำกลุ่มจังหวัดตอนกลางอย่างเข้มงวด ห่วงร้อยเอ็ด เกิดน้ำท่วมเป็นที่แรกเพราะเป็นจุดรับน้ำและมีพื้นที่เก็บน้ำที่จำกัด

A786B0A9-8238-43FB-99C9-D0EFA2701A9E

เมื่อเวลา 13.00 . วันที่ 3 มิ.. 2565 ที่สำนักงานชลประทานที่.ขอนแก่น นายสมปอง ฉ่ำกระมล ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่รับผิดชอบของ ชป.6 ครอบคลุม 5 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยภูมิ, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, มหาสารคาม  และ .ร้อยเอ็ด โดย มีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำชี และเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนลำปาวและเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งโดยเฉลี่ยทั้ง 3 เขื่อนรองรับน้ำได้ 4,500 ล้าน ลบ.. ปัจจุบันมีปริมาณมีน้ำประมาณ 1,800 ล้าน ลบ..   หรือร้อยละ 40  ของเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งหมดซึ่ง ถือว่าปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่ดี

สำหรับขอนแก่น ปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์จะมีปริมาณเฉลี่ยการกักเก็บที่พอดีกับขนาดความจุเขื่อน คือ เฉลี่ยที่ 2,400 ล้าน ลบ.แต่ละปีที่ฝนตกมีน้ำไหลเข้าเขื่อน เฉลี่ยปีละ 2,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ทางชลประทานเองจึงต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้มีช่องว่างเพียงพอในการจัดเก็บ   ไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ จึงต้องมีการบริหารจัดการน้ำ ทั้งการเก็บและการปล่อยน้ำอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม   ปัจจุบันเขื่อนอุบลรัตน์ระบายน้ำวันละ 10 ล้าน ลบ..

ซึ่งในปี 2565 น้ำในเกณฑ์เฉลี่ยจะมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 3  นอกจากนี้จะมีน้ำกักเก็บที่เหลือจากปีที่แล้วในเขื่อน จึงยังคงต้องติดตามสถานการณ์น้ำฝนอย่างใกล้ชิด จังหวัดแรกที่ต้องเตรียมพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมคือ .เสลภูมิ .ร้อยเอ็ด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำยังเพราะในปีที่มีปริมาณน้ำมาก มักจะประสบปัญหาน้ำท่วมก่อนพื้นที่อื่น โดยจะรับน้ำจาก.กาฬสินธุ์

นายสมปอง กล่าวต่ออีกว่า สำหรับสาเหตุทำให้น้ำท่วมเป็นพื้นที่แรก มาจากพื้นที่การกักเก็บน้ำมีน้อย  สภาพภูมิประเทศมีความลาดชัน จึงทำให้กระแสน้ำไหลแรงและเร็วน้ำจะมาและลงเร็ว ประชาชนในพื้นที่จึงต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำในแต่ละปี  นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ 2 ฝั่ง ท้ายเขื่อนลำปาว เขื่อนอุบลรัตน์ และลุ่มน้ำพอง  ที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน

อย่างไรก็ดีสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ หรือ สสน. ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำฝน พบว่า ลักษณะการกระจายตัวของฝนรายเดือนของประเทศ ในปี 2565 มีความคล้ายคลึงกับปี 2552 ที่จะมีฝนตกเร็ว จากพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง  คาดว่าลักษณะฝนจะเป็นเช่นเดียวกัน คือ ปริมาณฝนรายเดือน 6 เดือนแรก ตั้งแต่ ..-มิ..มีปริมาณเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเดือน มี..-.. จะเริ่มมีฝนมาก ซึ่งเป็นการเกิดฝนก่อนการประกาศฤดูฝนในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือน ..

แต่ในช่วง 6 เดือนหลังจากการคาดการณ์พบว่า ตั้งแต่เดือน ..-..นั้น ปริมาณฝนจะน้อยลงกว่าค่าปกติเล็กน้อย ปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำตามฤดูกาลก็จะน้อยลงด้วย นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงถึง 2 ครั้ง เหมือนกับปี 2564 ในเดือน มิ.. และเดือน .แสดงให้เห็นถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศที่คนไทยอาจจะเจอกันในปีนี้  

โดยทางชลประทานจึงแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่นอกเขตชลประทานงดการเพาะปลูกช่วงกลางเดือน มื.. ถึง .. นี้ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง