แก้จนฉบับอีสาน@ขอนแก่น

แก้จนฉบับอีสาน@ขอนแก่น

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

ความรวย ความจน  เมื่อมีความห่างกัน เราจึงเรียกว่า “ความเหลื่อมล้ำ“  อาการนี้ เกิดจาก รวยกระจุก จนกระจาย สังคมจะวอดวาย หาก ยังปล่อยไว้เช่นนี้……

เมื่อเกิดประเด็นปัญหา รัฐบาลจึงต้องมีนโยบายในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว เพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2561-2580)

ศจพ. : เกาะติด ชีวิตแก้จน

คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ ศจพ. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 จึงเป็นหน่วยใหม่ที่เข้ามาทำงานเรื่องนี้

ฐานข้อมูล ที่ทรงพลัง :TPMAP

คำถามที่ตามมา ว่า “คนจน“ เป็นใคร พวกเขาอยู่ที่ไหนกัน และจะช่วยพวกเขา ในเรื่องไหนกันได้บ้างล่ะ  เพราะคำว่า “จน“ คำเดียว อาจทำให้ชีวิตขาดหวิ่นไปซะทุกเรื่อง

ยุคนี้ รู้กันว่า ข้อมูลสำคัญมาก เป็นเครื่องมื่อที่จะช่วยในการวิเคราะห์ มองหาเป้าหมาย และแนวทาง การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Thai  People Map and Analytic S  Platform  หรือ  เรียกกันง่ายสั้น ติดปากว่า TPMAP

ฐานข้อมูลนี้ มาจากไหนกัน …เฉลยว่า มาจากการลงทะเบียนในโครงการของรัฐ อาทิ คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน เป๋าตุง เป็นต้น พอจำกันได้ ใช่ไหม ในยุคแรกๆ เมื่อ 2562 ลงทะเบียนกัน กว่า 7 ล้านคน ที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว นั่นแหละ เป็นที่มาของ ฐานข้อมูล ที่วิ่งไปรวมกัน จนเป็น Big Data ของวันนี้

ศจพ.มีการ แบ่งงานการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน ที่ระบุใน ฐานข้อมูล TPMAP ใน 5 มิติ ได้แก่   การศึกษา สุขภาพ ความเป็นอยู่ รายได้ และการเข้าถึงข้อมูล

 

มหาดไทย เป็นเจ้าของเรื่อง นำไปทำงาน กับ หน่วยงานต้นเรื่อง

ความเป็นอยู่ของราษฏร์ มีมิติที่เกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง ดังนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันของหลายกระทรวง หลายหน่วยงาน อาทิ การศึกษา เป็นงานของกระทรวงศึกษาธิการ, สุขภาพ เป็นงานของกระทรวงสาธารณสุข, ความเป็นอยู่ เป็นงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, รายได้เป็นงานของกระทรวงการคลัง-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,  การเข้าถึงข้อมูล เป็นงานของ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานอื่นๆ อีกมากมาย

สโคปงานจึงกว้าง เกินบรรยาย แถมยังมีคำว่า ทุกช่วงวัย ตีความว่า ตั้งแต่ “เกิด จน ตาย “ นับเป็นความท้าทาย ยิ่งนัก

การนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงมหาดไทย ออกเดินสาย ไปทำความเข้าใจกัน ข้าราชการทั้ง 4 ภาค มาแล้ว เป็นการเชิญมาประชุมซักซ้อมความเข้าใจ ตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการจังหวัด ลงไป เมื่อ 28 กพ/3-7-11 มีนาคม 2565 ไล่เรียง ตามภาค คือ ภาคเหนือ ใต้ กลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ จำนวนรวมราว 1,800 คน

ภาคสุดท้าย-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาที่ขอนแก่น-บ้านเฮา เมื่อ ศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา นี่เอง นะ

เมื่อเข้าใจ ภาพเชิงนโยบายกันแล้ว เราตัดกรอบมามองเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน กันนะ…ภาคอื่นๆ ก็ใช้แนวปฏิบัติ เดียวกัน ต่างกัน คือ ข้อมูลของแต่ละภาค

ข้อมูล จาก TPMAP 65 ของภาคอีสาน พบว่า จำนวนคนเป้าหมาย 354,154 คน จำนวนครัวเรือน 208,353 ครัวเรือน

ขยับมามอง เฉพาะ ขอนแก่น-บ้านเฮา จำนวนคนเป้าหมาย  23,424 คน จำนวนครัวเรือน 14,035  ครัวเรือน

นับเป็นความท้าทาย ของแต่ละจังหวัดยิ่งนัก  TPMAP 65  หมายถึง งบประมาณ ปี 2565 ซึ่งจะหมายถึง กรอบเวลา ภายในเดือนกันยายน 2565 นี้

อยากชวน คนขอนแก่น ไม่ทอดทิ้งกัน สังคมดีๆ เราช่วยกันสร้าง ด้วยสองมือ ที่หากรวมกัน ทั้ง 1.7 ล้านคน ของทั้ง 26 จังหวัด ย่อมเป็นพลัง ดีกว่าจะชี้นิ้ว ว่าเป็นงานของใคร คนใดคนหนึ่ง

แก้จน ฉบับอีสาน“  อีกครั้งของการทำงานจากนโยบายของรัฐบาล  ที่อาจไม่ใช่ครั้งแรก แต่เป็นความพยายามอีกครั้ง เมื่อชีวิตต้องเดินทางต่อไป กับ วิถีใหม่- New  Normal เราต้องสู้….เราต้องรอด…ท่องไว้ ท่องไว้….

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง