เทศบาลนครขอนแก่นร่วมกับโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ จัดพิธีลงนามข้อตกลงกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เพื่อร่วมมือกันจัดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้เกิดการจัดการเรียนรู้ในจังหวัด วางแผนดันรับรางวัลเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลก
เมื่ออังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องออคิดบอลรูม โรงแรมพูลแมน ราชาออคิด ขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ นายกเทศฒนตรีนครขอนแก่น ได้ร่วมกับ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง(เคเคทีที) จำกัด ที่ได้ดำเนินขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน และได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ จาก UNESCO
โดยในวันนี้ เทศบาลนครขอนแก่น พร้อมด้วย บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง(เคเคทีที) จำกัด ที่ได้ดำเนินขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้เชิญภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม มาร่วมลงนาม เพื่อเป็นเครือข่าย
จากการที่จังหวัด“ขอนแก่น” ได้รับการประกาศรับรองเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา โดยเป็น 1 ใน 64 เมืองจาก 35 ประเทศทั่วโลก ซึ่งหลังจากการประกาศครั้งนี้ สมาชิกเครือข่ายประกอบด้วย 356 เมืองจากทั่วโลก การดำเนินการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยจะสนับสนุนการบรรลุผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในเป้าหมายต่างๆ ได้ถึง 10 ข้อ จาก 17 ข้อ ดังนั้นทางเทศบาลนครขอนแก่น ได้เชิญองค์กรภาคีเครือข่าย ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การขับเคลื่อน “ขอนแก่น” สมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO (Khon Kaen : Membership of UNESCO Global Network of Learning Cities)
เรื่องนี้ นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเจตจำนงและความมุ่งมั่น ในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ระหว่าง “ภาคีเครือข่ายฯ” มี นโยบาย ยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วม การติดตามผล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างการกำกับดูแลและการมีส่วนร่วม มีกลไกประสานงานทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้ทุกคนเป็นผู้สร้าง โอกาสทางการเรียนรู้ ส่งเสริมการระดมทรัพยากรระหว่าง “ภาคีเครือข่ายฯ” เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต การใช้ทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ มีนโยบายด้านงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้และกลุ่มด้อยโอกาส ส่งเสริมให้เกิดพลเมืองเป็นอาสาสมัครโดยทักษะ ความรู้ของตน มีการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ ระหว่างภาคีเครือข่าย พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและส่งเสริมความร่วมมือทางสังคม ส่งเสริมการรู้หนังสือและทักษะ พื้นฐานแก่พลเมือง ให้พลเมืองมีส่วนร่วมในพื้นที่สาธารณะของเมือง ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ สร้างความ ปลอดภัย ความสามัคคี และความครอบคลุมในชุมชน
นอกจากนั้นยัง พัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรม กระตุ้นให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและยั่งยืน สร้าง โอกาสในการจ้างงานสำหรับทุกคน ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การเข้าถึงกิจกรรมทาง วัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสันทนาการ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน คำนึงถึงผลกระทบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีต่อ สิ่งแวดล้อมพัฒนาความน่าอยู่ของเมือง ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการเรียนรู้เชิงรุกในทุกด้าน และส่งเสริมการ เรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ในครอบครัวและชุมชน อำนวย ความสะดวกให้มีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่ทำงาน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ทันสมัย ส่งเสริมคุณภาพและความเป็นเลิศในการเรียนรู้ และสนับสนุนวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเข้มแข็ง เพิ่มการเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้ การจ้างงาน แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งผู้ย้ายถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้สูงวัย
“ทั้งหมดนี้คือวัตถุประสงค์ในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ตอนนี้ในประเทศไทยได้เป็นสมาชิกเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกจำนวน 10 เมือง แต่ยังไม่มีเมืองไหนได้รับรางวัลหรือได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับงโลกเลย การลงนามและขับเคลื่อนร่วมกันในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญที่จะทำให้เกิดการจัดการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งจังหวัดขอนแก่นเพื่อตอบโจทย์การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง”นายธีระศักดิ์ กล่าว
ด้านนายกังวาน เหล่าวิโรจน์กุล (นายกังวาน เหล่าวิโรจนกุล) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง(เคเคทีที) จำกัด และหัวหน้าโครงการวิจัยขอนแก่นเลินนิ่งซิตี้ กล่าวว่า การที่ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้จังหวัดขอนแก่นเป็นสมาชิกเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลกนั้นเดิมทำในพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น แต่จากนี้ไปจะต้องขยายขอบเขตออกไปขับเคลื่อนทั้งจังหวัด โดยจะต้องทำครอบคลุมทุกอำเภอ การเชิญภาคีเครือข่ายมาร่วมลงนามในครั้งนี้เพื่อจะได้ขับเคลื่อนไปด้วยกันและช่วยกันแก้ปัญหาด้วยการใช้การเรียนรู้ตลอดชีวิตไปแก้ไขเรื่องความยากจน ขับเคลื่อนการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ของขอนแก่นตามบริบทของพื้นที่ ที่นำไปสู่เมืองน่าอยู่และ ชาญฉลาดและสอดคล้องกับแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก รวมถึง
เพื่อสร้างนักจัดการการเรียนรู้ในขอนแก่น ที่จะยกระดับความ ร่วมมือและขับเคลื่อนกลไกการเรียนรู้ระดับพื้นที่ที่นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนใน ขอนแก่นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นยกระดับหรือพัฒนากลไกความร่วมมือในการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ในระดับพื้นที่ ที่นำไปสู่ การยกระดับคุณภาพชีวิต ของคนกลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนตกงานด้วย
สำหรับหน่วยงานที่เข้าร่วมลงนามครั้งนี้ อาทิ ปลัดองค์การบริหารจังหวัดขอนแก่น,รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ,นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง(เคเคทีที) จำกัด, นายปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตขอนแก่น,ดร.สายัณห์ ผาน้อย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยบัญฑิตเอเชีย,คณบดีคณะวิศกรรมศาสตร์ มข. ผู้อำนวยการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,ตัวแทนเครือข่าย การยกระดับและขับเคลื่อนขอนแก่นเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ชาญฉลาด สู่เมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลก, สื่อมวลชน และประชาชน ฯลฯ
#ขอนแก่นเมืองแห่งการเรียนรู้
#KhonKaenGlobalLearningCity
#เมืองแห่งการเรียนรู้ขอนแก่น
#ขับเคลื่อนการเรียนรู้ขอนแก่น
#UNESCOGlobalNetworkKhonKaen
Leave a Response