“น้ำพอง” พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์เพิ่มอีก2สายพันธุ์ รวมเป็น3สายพันธุ์ (พันธุ์กินพืช กินเนื้อ และสัตว์น้ำ)

"น้ำพอง" พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์เพิ่มอีก2สายพันธุ์ รวมเป็น3สายพันธุ์ (พันธุ์กินพืช กินเนื้อ และสัตว์น้ำ)

นักธรณีวิทยาสำรวจพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์เพิ่มอีก 2 สายพันธุ์ เป็นไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อ และ สัตว์น้ำ ขอความร่วมมือทุกคน งดเข้าไปหยิบจับเคลื่อนย้าย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการสำรวจต่อเนื่องโดยเชื่อว่าตลอดลำน้ำพองจะมีร่องรอยไดโนเสาร์ดึกดำบรรพ์ที่ผ่านมากว่าร้อยล้านปี และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในอนาคตเหมือนกับที่ภูเวียง ซึ่งมีร่องรอยไดโนเสาร์ดึกดำบรรพ์กว่า 130 ล้านปี

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นางสาวศศอร ขันสุภา นักวิชาการทรัพยากรธรณีชำนาญการพิเศษ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์ ถึงการตรวจสอบชิ้นส่วนฟอสซิลที่ริมหนองน้ำ ใกล้สะพานข้ามลำน้ำพอง จากบ้านโนนพะยอมไปบ้านบึงกลาง ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และได้นำชิ้นส่วนฟอสซิลไปตรวจสอบว่า การพบชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ที่อำเภอน้ำพองเบื้องต้นซึ่งเป็นชิ้นส่วนของกระดูกสันหลังส่วนคอและก็เป็นส่วนที่พบไม่สมบูรณ์คือว่าเป็นท่อน 2 ท่อนแล้วก็ส่วนที่แตกหักซึ่งเป็นส่วนของไดโนเสาร์กินพืชเป็นกระดูกคอ 2 ท่อน แต่ว่ามีแนวเชื่อมกันก็เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ สำหรับการระบุสายพันธุ์นั้นตอนนี้บอกได้แค่เป็นสายพันธุ์กินพืช 1 ชนิดและก็ยังเจอฟันของไดโนเสาร์ spy no forest คือ สายพันธุ์กินเนื้อพวกกินปลาเป็นอาหารทุกชนิด และก็ยังเจอซากดึกดำบรรพ์ของพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท้องน้ำรวมเป็นชนิดที่ 3 ขณะนี้จึงสรุปได้ว่า บริเวณที่พบฟอสซิลนั้น ในเบื้องต้นคือเจอฟอสซิลของไดโนเสาร์ อยู่ 3 จำพวกด้วยกัน

นางสาวศศอร ขันสุภา นักวิชาการทรัพยากรธรณีชำนาญการพิเศษ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว

“หลังพบฟอสซิล เทศบาลม่วงหวานและในอำเภอน้ำพอง ได้สั่งการลงมาให้ป้องกันพื้นที่ เพราะไม่อยากจะให้คนในท้องที่ไปรบกวนในตรงนั้น ซึ่งตอนนี้มันค่อนข้างจะสุ่มเสี่ยง เพราะการเจอซากดึกดำบรรพ์อยู่พบในพื้นที่ ที่เป็นชั้นสะสมตัว ยังมีโอกาสเจอร่องรอยทั้งตลอดลำน้ำพองและใกล้เคียง ฉะนั้นอยากจะให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ เพราะว่ามันเจอสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถือว่ามีความสำคัญ จะเพิ่มองค์ความรู้ในเรื่องซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ จะเป็นประโยชน์ต่อท้องที่”

นางสาวศศอร ขันสุภา กล่าวต่ออีกว่า จุดที่เจอสายพันธุ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ หรือซากดึกดำบรรพ์ในจุดนี้อยู่ในหมวดโคกกรวดในช่วงประมาณ 100-110 ล้านปีมาแล้ว ก็คือการที่พบซากดึกดำบรรพ์ตรงนี้มีความสำคัญตรงที่ว่า ทำให้เรารู้ถึงสภาพแวดล้อมและก็ความหลากหลายทางชีวภาพณบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์คือมียักษ์ใหญ่ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นและก็มีพวกนักล่าก็คือไดโนเสาร์กินปลาอยู่ตรงนั้นแสดงว่าก็มีทั้งพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามท้องน้ำซึ่งแสดงว่าบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มีแหล่งอาหาร

ส่วนการกั้นพื้นที่ จุดที่พบฟอสซิล ก็เพื่อให้นักธรณีวิทยลงพื้นที่สำรวจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ เพราะเมื่อเราเจอซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อที่จะพิสูจน์หรือว่าเก็บข้อมูลเราจะทำการปิดล้อมให้เป็นเครื่องหมาย เพื่อป้องกันไว้ก่อน คาดว่าทีมงานจะเข้าไปทำการอนุรักษ์ตัวอย่างที่โผล่พ้นออกมา หากไม่กั้นมันจะสุ่มเสี่ยงต่อการผุพัง เมื่อมันอยู่ในชั้นหินมันจะถูกเก็บในชั้นหินมันจะรักษาสภาพอยู่ แต่ถูกเปิดด้วยการกระทำของธรรมชาติหรือโดยมนุษย์ มันก็จะทำให้ซากดึกดำบรรพ์นั้นถูกทำลายและก็อาจจะสูญเสียลักษณะ ที่บ่งชี้ว่ามีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากสายพันธุ์อื่น

เพราะว่าตรงนี้ของไดโนเสาร์กินพืช ในหมวดหินโคกกรวดพบน้อย และของไดโนเสาร์กินปลาก็เหมือนกัน ยังไม่แน่ใจจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับที่พบในหมวดหินเสาขัวในภูเวียงหรือไม่ อาจจะเป็นคนละชนิดหรืออาจจะเป็นชนิดเดียวกันก็ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้มีความสำคัญถึงเรื่องความหลากหลายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือที่ภูเวียงอายุเก่าแก่กว่าคือ 130 ล้านปีตรงนี้ร้อยล้านปีก็จะเป็นช่วงเวลาต่างกันช่วงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตก็จะหลากหลายอย่างพวกกินพืชก็จะมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ที่สามารถจะนำไปเชื่อมโยงต่อการพัฒนาท้องถิ่นตรงนั้นได้เยอะและก็ทั้งองค์ความรู้ที่จะเผยแพร่ให้แก่คนในท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง