รมว.พม. เป็นประธานทอดผ้าป่ากองบุญแห่งการให้จังหวัดขอนแก่น พร้อมลงนามความร่วมมือใน การจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพการบริบาล และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ องค์กรดีเด่น อาสาสมัครดีเด่น และ อพม.ดีเด่น

รมว.พม. เป็นประธานทอดผ้าป่ากองบุญแห่งการให้จังหวัดขอนแก่น พร้อมลงนามความร่วมมือใน การจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพการบริบาล และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ องค์กรดีเด่น อาสาสมัครดีเด่น และ อพม.ดีเด่น

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 ส.ค.2565 ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานทอดผ้าป่ากองบุญแห่งการให้ จ.ขอนแก่น จำนวน 578,191 บาท พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือ การจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพการบริบาล และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ องค์กรดีเด่น จำนวน 66 คน 2 องค์กร อาสาสมัครดีเด่น และอพม.ดีเด่นและพิธีมอบป้ายองค์กรภาคธุรกิจ CSR โดยมีนายจารึก เหล่าประเสริฐ รอง ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมให้การต้อนรับ

นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พม กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประชากรมากกว่าร้อยละ 30 เป็นผู้สูงวัย จำเป็นจะต้องมีผู้ดูแลหรือนักบริบาลรวมถึงการรักษาพยาบาลที่เป็นระบบและต่อเนื่อง ประเทศญี่ปุ่นมีการเปิดรับแรงงานจากต่างประเทศแต่พบว่าแรงงานส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านภาษาและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ดีพอ ทำให้ได้รับค่าแรงไม่เท่าเทียมกับมาตรฐานแรงงานญี่ปุ่น ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศ ให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่สามในการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาและผู้เรียนสามารถต่อยอดในระดับอุดมศึกษาได้ รูปแบบการเรียนภาษาญี่ปุ่นเริ่มจากการเตรียมความพร้อมระดับภาษา ( JLPT ) และเข้าเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล จำนวน 540 ชั่วโมง ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งสอนโดยทีมอาจารย์ ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 เรียนต่อที่โรงเรียน ผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 130 ชั่วโมง จบแล้วสามารถทำงานได้ที่ ศูนย์ผู้สูงอายุประเทศญี่ปุ่น 3 ปี ขณะทำงานมีการเรียน On – Line สาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่ออาชีพ กับคณะมนุษยศาสตร์ ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจนจบ

” กระทรวง พม. ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มข., สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 และบริษัทแอลเอ เอดดูเคชั่น จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้โครงการ มุงสู่การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ โดยการบูรณาการทุกภาคส่วนและพัฒนาสู่วิชาชีพของกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป กองบุญแห่งการให้ จากข้อมูลครัวเรือนเปราะบางในระบบ TPMAP ประเทศไทยมีครัวเรือนเปราะบาง จำนวน 141,450 ครัวเรือน ซึ่งภาครัฐได้มีการบูรณาการช่วยเหลือโดยใช้งบฟังก์ชั่นของแต่ละส่วนราชการ ทั้งการช่วยเหลือแบบเร่งด่วน พัฒนาได้ และพัฒนาไม่ได้ ในบางครั้งงบราชการก็ไม่เพียงพอ หรือบางครั้งก็ติดขัดกับระเบียบราชการ ขณะที่กองบุญแห่งการให้จังหวัดขอนแก่นจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นส่วนอำนวยการ เชื่อมประสานทุกภาคส่วนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการเติมเต็มให้กลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาส”

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง