กิ่งกาชาดอำเภอบ้านไผ่ @ขอนแก่น (กิ่งที่ 11/13)

กิ่งกาชาดอำเภอบ้านไผ่ @ขอนแก่น (กิ่งที่ 11/13)

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

        อำเภอบ้านไผ่ “ มีประชากร 101,082 คน อาศัยใน 34,736 หลังคาเรือน  บนพื้นที่ 478 ตารางกิโลเมตร  มีความสมบูรณ์เรื่อง น้ำ จาก “แก่งละว้า“ ชุ่มชื้นกว่า 500 ไร่

        “กิ่งกาชาดอำเภอบ้านไผ่ “ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 21  มีนาคม 2550  ลำดับที่ 222    สมาชิก 120 คน ( สามัญ  117  กิตติมศักดิ์ 3 คน )

        2 ปี หลังการก่อตั้ง  มีการสร้างสำนักงาน ที่ทำการของกิ่งฯ  ด้วยเงินบริจาค 1.5 ล้านบาท นับเป็นการแสดงพลัง การมีส่วนร่วม ของสมาชิกในพื้นที่

        14 ปี ผ่านไป พบว่า นายกิ่งกาชาดอำเภอบ้านไผ่  คนแรก ก็มีโอกาสกลับเข้ามานั่งร่วมประชุม ในวันเยี่ยมยาม-21 ธันวาคม 2564 ท่านมา  คือ คุณเกศนี  จึงจรัสทรัพย์, นายกกิ่งกาชาดอำเภอบ้านไผ่  คนที่ 6 –คุณจุฑามาศ  เหล่าประเสริฐ   และนายกิ่งกาชาดอำเภอบ้านไผ่   คนปัจจุบัน-คุณมนฤดี  ไชยกิจ

        เมืองใหญ่  มีความพร้อม การปันส่วนระหว่างกัน จึงให้เห็นอยู่เนืองๆ พบว่าการทำกิจกรรมหลายกิจกรรมไ ม่ได้ใช้งบประมาณทางราชการ แต่เป็นการสนับสนุนงบประมาณ จากภาคประชาสังคม อาทิ เอกชน พ่อค้า คหบดี  ต้นแบบการพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วม

        หลายต่อหลาย กิจกรรม พบว่า ไม่ต้องใช้งบประมาณของหลวง แต่เป็นการร่วมแรง ร่วมใจ ช่วยกันของชุมชน ออกแรง ออกเงิน ออกสิ่งของ  จนบรรลุเป้าหมาย เรื่องการ บรรเทาทุกข์ อิ่มใจกัน ถ้วนหน้า และบอกว่า งานหน้า หากมี อีก บอกกันอีกนะ

        วันนี้…ชาวบ้านไผ่ จึงมีความสุขอีกมุม ที่จะแบ่งปัน สนุกที่ได้เจอกัน และสนุก อีก เมื่อได้มาทำงานจิตอาสา ด้วยกัน……

///////////////////////////////////////////////////////

        กิ่งกาชาด” เป็นสมาชิกของ “เหล่ากาชาด“ ดูแลงาน “บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขปวงประชา เป็นที่พึ่งพาผู้ยากไร้ “ ในระดับอำเภอ

        เหล่ากาชาด“  ดูแลงานในระดับ จังหวัด และเป็นสมาชิกของ  สภากาชาดไทย“   ซึ่งดูแลงาน ทั้งประเทศไทย

         “กิ่งกาชาด” จึงมีความสำคัญระดับพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ แต่ละพื้นที่ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีข้อดี คือ เข้าถึงความเดือดร้อนของราษฏร์ ด้วยความรวดเร็ว รู้พื้นที่ รู้ปัญหา แสวงหาแนวทางบรรเทาทุกข์อย่างตรงจุด ด้วยความเอื้ออาทร ต่อกัน พวกเขาล้วนเป็นเครือญาติ เป็นชุมชนที่จะดูแล ทุกข์ สุขกัน เป็นพลังสามัคคี ที่ต่อจุดความเข้มแข็งให้ประเทศชาติ ได้อย่างเข้มแข็งและยืนยาว

        “เหล่ากาชาด” จึงมีหน้าที่ ในการช่วยหนุนเสริม เติมกำลังใจ สนับสนุน ในสิ่งที่ขาด ที่สำคัญและน่าชื่นชม คือ สมาชิก ในพื้นที่เป็นพลัง ที่จะช่วยกันขับเคลื่อน ชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา พร้อมที่จะส่งต่อ บ้านเมือง ให้ลูกหลาน ด้วยคำว่า “สำนึกรักบ้านเกิด

บันทึกช่วยจำ : ประเทศไทย มี 878 อำเภอ มีกิ่งกาชาด จำนวน 285 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 32

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง