กิ่งกาชาดอำเภอหนองเรือ @ขอนแก่น (กิ่งที่ 7/13)

กิ่งกาชาดอำเภอหนองเรือ @ขอนแก่น (กิ่งที่  7/13)

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
     

          “อำเภอหนองเรือ“  ประกาศจัดตั้ง เป็นอำเภอ เมื่อปี 2506  ด้วยชื่อชุมชน ที่มีหนองน้ำใหญ่ คล้ายเรือ จึงเป็นที่มาของชื่ออำเภอ

          มีประชากร ราว 92,031  คน,  จำนวน 4,613 ครัวเรือน บนพื้นที่  673 ตารางกิโลเมตร (420,625 ไร่)

          กิ่งกาชาดอำเภอหนองเรือ “   ก่อตั้ง เมื่อปี  2543 ลำดับที่ 165  นับเป็นกิ่งกาชาดแห่งแรกของจังหวัดขอนแก่น นายกกิ่งฯ ท่านแรก คือ นางเอมอร  ตาตินิจ

          21 ปี ของการบรรเทาทุกข์ กลายเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานสำคัญของอำเภอ ในการออกปฏิบัติหน้าที่ ยามมีภัยธรรมชาติ และอุบัติภัย ต่างๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

          ค่าสมาชิกของกิ่งกาชาด จะเป็นงบประมาณ ในการทำกิจกรรมของอำเภอ สมาชิกของกิ่งฯ จำนวน 106 คน เป็นสมาชิกประเภทสามัญตลอดชีพ และยังมีกิจกรรมจัดหารายได้ ได้อีก ตามความเห็นชอบของสภากาชาดไทย

          กิจกรรม ที่เรามักพบเห็น กรรมการของกิ่งฯ ออกปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ เหตุ ไฟไหม้บ้าน  พวกเขารุดเข้าพบ มอบสิ่งของ ถุงยังชีพเป็นอันดับแรกทันที เป็นกำลังใจ ที่ปลอบประโลมกัน ยามมีทุกข์  หรือยามลมพายุ หอบหลังคาบ้านเปิดเปิง โล่งเตียน น้ำใจก็มาก่อนสิ่งใดๆ เช่นเคย

          นายกกิ่งกาชาด คนปัจจุบัน เมื่อวันไปเยี่ยมยามกัน-17 ธันวาคม 2564  คือ ท่านนายอำเภอ-กันตภณ  สุขสงค์ ที่ควบตำแหน่งนี้เอง (ภรรยา มิได้โยกย้าย ตามมาปฏิบัติหน้าที่-ท่านนายอำเภอ จึง สั่งการเองในสองตำแหน่ง )

///////////////////////////////////////////////////////

        กิ่งกาชาด” เป็นสมาชิกของ “เหล่ากาชาด“ ดูแลงาน “บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขปวงประชา เป็นที่พึ่งพาผู้ยากไร้ “ ในระดับอำเภอ

        เหล่ากาชาด“  ดูแลงานในระดับ จังหวัด และเป็นสมาชิกของ  สภากาชาดไทย“   ซึ่งดูแลงาน ทั้งประเทศไทย

         “กิ่งกาชาด” จึงมีความสำคัญระดับพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ แต่ละพื้นที่ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีข้อดี คือ เข้าถึงความเดือดร้อนของราษฏร์ ด้วยความรวดเร็ว รู้พื้นที่ รู้ปัญหา แสวงหาแนวทางบรรเทาทุกข์อย่างตรงจุด ด้วยความเอื้ออาทร ต่อกัน พวกเขาล้วนเป็นเครือญาติ เป็นชุมชนที่จะดูแล ทุกข์ สุขกัน เป็นพลังสามัคคี ที่ต่อจุดความเข้มแข็งให้ประเทศชาติ ได้อย่างเข้มแข็งและยืนยาว

        “เหล่ากาชาด” จึงมีหน้าที่ ในการช่วยหนุนเสริม เติมกำลังใจ สนับสนุน ในสิ่งที่ขาด ที่สำคัญและน่าชื่นชม คือ สมาชิก ในพื้นที่เป็นพลัง ที่จะช่วยกันขับเคลื่อน ชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา พร้อมที่จะส่งต่อ บ้านเมือง ให้ลูกหลาน ด้วยคำว่า “สำนึกรักบ้านเกิด

บันทึกช่วยจำ : ประเทศไทย มี 878 อำเภอ มีกิ่งกาชาด จำนวน 285 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 32

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง