กิ่งกาชาดอำเภอชุมแพ @ขอนแก่น (กิ่งที่ 6/13)

กิ่งกาชาดอำเภอชุมแพ @ขอนแก่น (กิ่งที่  6/13)

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
     

          …ชุมแพ พลเมืองหนาแน่น ดินแดนติดแคว้นภูเวียง …. เสียงเพลงแว่วๆ คล่องตัวโน้ต พร้อมเซิ้ง…คนอิสานมักม่วน…สนุกสนาน อารมณ์ดี…..

          “อำเภอชุมแพ“  หัวเมืองขนาดใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น หลายคราที่มักมีข่าว ความพร้อมของการ จัดตั้งเป็น “จังหวัด“  แต่วันนี้ ยังเป็นอำเภอ ทางฝั่งตะวันตกของ จังหวัดขอนแก่น  และมีเศรษฐกิจเติบโต เป็นอันดับสอง รองจากอำเภอเมือง

          ประชากร จำนวน กว่า 125,000 คน, พื้นที่ กว่า 510 ตารางกิโลเมตร  (ราว 318,750 ไร่) ,138 หมู่บ้าน , 38 ชุมชน

          ก่อตั้งประกาศเป็น “อำเภอ“ อย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2486 (78 ปี) โดยมีตระกูลเก่าแก่ จัดว่าเป็นคุณูปการ ต่อ เมืองนี้ คือ “ดีบุญมี“  ต่อมาจึงมักเห็นว่า เป็น ดีบุญมี ณ ชุมแพ

          กิ่งกาชาดอำเภอชุมแพ“  ก่อตั้งเมื่อปี 2549   พบว่าระยะทางยาวนานกว่า 15 ปี ทำให้มี จิตอาสา เข้ามาร่วมขับเคลื่อน ต่อเนื่องยาวนาน เช่นกัน

          ท่านนายอำเภอหญิงเหล็ก-สุภาวดี  ศรีสุขวัฒน์ (นายอำเภอ คนที่ 24 ของอำเภอชุมแพ)  รับหน้าที่ นายกกิ่งกาชาด อีกตำแหน่ง จึงมีข้อดี ด้านความคล่องตัว  ที่ควบรวม สั่งการได้รวดเร็ว

          สรุปงาน บรรเทาทุกข์ ในรอบปี 2564 ที่ผ่านมา (30 กันยายน 2564)  พบว่า นอกเหนือจากภารกิจ การออกหน่วยรับบริจาคโลหิต ร่วมกับ หน่วยบริการโลหิตแห่งชาติ ภาค 6  จำนวน 10 ครั้ง มีผู้บริจาค 865 คน  และ ยังได้รับ การบริจาคดวงตา  6 ราย, บริจาคอวัยวะ 21 ราย

          มีการออกไปบรรเทาทุกข์ ให้กับราษฏร  ที่ได้รับความเดือดร้อน จากภัยธรรมชาติ อาทิ วาตภัย 35 ราย, อัคคี 8 ราย, อุทกภัย 485 ราย ใน 11 หมู่บ้าน

          การก่อตั้งกิ่งกาชาด มายาวนาน กว่า 15 ปี จึงพิสูจน์ ว่า เป็นที่พึ่ง ของราษฏร ท่ามกลางเมืองใหญ่ ที่ยังมีที่พึ่ง และมีจิตอาสาช่วยกัน อย่างเข้มแข็ง….

///////////////////////////////////////////////////////

        กิ่งกาชาด” เป็นสมาชิกของ “เหล่ากาชาด“ ดูแลงาน “บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขปวงประชา เป็นที่พึ่งพาผู้ยากไร้ “ ในระดับอำเภอ

        เหล่ากาชาด“  ดูแลงานในระดับ จังหวัด และเป็นสมาชิกของ  สภากาชาดไทย“   ซึ่งดูแลงาน ทั้งประเทศไทย

         “กิ่งกาชาด” จึงมีความสำคัญระดับพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ แต่ละพื้นที่ที่มีขนาดเล็กลง แต่มีข้อดี คือ เข้าถึงความเดือดร้อนของราษฏร์ ด้วยความรวดเร็ว รู้พื้นที่ รู้ปัญหา แสวงหาแนวทางบรรเทาทุกข์อย่างตรงจุด ด้วยความเอื้ออาทร ต่อกัน พวกเขาล้วนเป็นเครือญาติ เป็นชุมชนที่จะดูแล ทุกข์ สุขกัน เป็นพลังสามัคคี ที่ต่อจุดความเข้มแข็งให้ประเทศชาติ ได้อย่างเข้มแข็งและยืนยาว

        “เหล่ากาชาด” จึงมีหน้าที่ ในการช่วยหนุนเสริม เติมกำลังใจ สนับสนุน ในสิ่งที่ขาด ที่สำคัญและน่าชื่นชม คือ สมาชิก ในพื้นที่เป็นพลัง ที่จะช่วยกันขับเคลื่อน ชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา พร้อมที่จะส่งต่อ บ้านเมือง ให้ลูกหลาน ด้วยคำว่า “สำนึกรักบ้านเกิด

บันทึกช่วยจำ : ประเทศไทย มี 878 อำเภอ มีกิ่งกาชาด จำนวน 285 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 32

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง