คำเยียวยา @ขอนแก่น

facebook_cover_roojink_2

คอลัมน์ รู้จริง ถิ่นเฮา

โดย “น้องดอกคูน” 

….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน  เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….

        อย่าเพิ่ง เหวี่ยงวีน ว่า จะเชียร์ใคร แดกดันใคร กันเลยนะ ขอพลิกทฤษฏีการสื่อสาร ที่ถูกนำมา ต่อจิ๊กซอร์ มิติของการใช้คำ การสื่อความหมาย ให้มีความหมาย แม้ในยามนี้ อาจเป็นที่วิพากษ์ จนกระจุยไปแล้วก็เถอะนะ…..

        อิทธิพลของ “ผู้นำ” ย่อมส่งผลเป็นลูกระนาด ตามไปได้อีกหลายน้ำ ที่เขาเรียกว่า Tone to The Top หมายถึง มีระบบสั่งการ จากยอดบนของโครงสร้างองค์กร

        เราจะพบว่า วลี หรือ นโยบาย ของ ผู้นำทั่วโลก มักถูกหยิบ กลายเป็นประเด็น สื่อ นำมาขยี้ ตีข่าว ต่อกันอีกหลายวัน กับอีกหลายสื่อ หลายช่องทาง ยิ่งในโลกออนไลน์ อื่มมม …กระหน่ำกันซะ….คนใจอ่อน นอนไม่หลับ รับไม่ได้ เกิดผลข้างเคียง พาลถอดใจ ได้นะ แต่หากคิดจะ ก้าวขึ้นมาเป็น  “ผู้นำ”  ต้อง “ทำใจ” กับการเป็น “บุคคลสาธารณะ”

        พลิกๆ กลับไปดู ชื่อ โครงการต่างๆ ในปี 2563 เมื่อมีการแพร่ระบาดของโควิด-19  พบว่า มาตรการเยียวยา ของรัฐบาล มากันแบบ โดนใจสุดๆ แจกสะบัด พัดกระจาย ทั่วประเทศ ลงทะเบียนกัน จน ระบบล่ม

        1 “เราไม่ทิ้งกัน”  หน่วยงานเจ้าของวลีนี้ คือ  สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง หรือ ศสค. มาจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้นำ ว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

        2 ไทยชนะ หมอชนะ เราชนะ  หน่วยงาน ที่ยกคำมาทำงานต่อ คือ ทีมงานเลขาของท่านผู้นำ เมื่อมีการต้องใช้แอปพลิเคชั่น ในการติดตามตัวประชาชน ว่าพวกเขาเดินทาง ไปไหน มาไหนบ้าง เพื่อนำมาทำไทม์ไลน์  มาจากคำหนึ่งของการแถลงข่าว ว่า “ประเทศไทยต้องชนะ”

        คนละครึ่ง ได้รับเสียงตอบรับอย่างโดนใจ ร้านค้า รายเล็ก รายน้อย สแกนจ่ายเงินครึ่งเดียว กับของเต็มชิ้น ความนิยมพุ่งปรี๊ด..จากนโยบายรัฐบาล  ที่อยากให้ประชาชน ออกมาช่วย ใช้เงิน ค่าใช้จ่าย ออกมาจับจ่ายและมีส่วนร่วม ในการใช้ชีวิต

        4 เรารักกัน เป็นการตอบโจทย์ ที่จะช่วยเยียวยา ผู้คนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงาน –ประกันตนตาม มาตรา 33  จึงเป็น ชื่อ โครงการ ที่ รมว.แรงงาน-จับกัง 1  ลงมาดูงานเอง คือ “ม.33 เรารักกัน”

        ท่ามกลาง สถานการณ์ โควิด-19 ประชาชนอาจโหยหา คำ บางคำ ที่คงไม่ถูกใจ คนทุกคน และมีเสียงแซะ กระแนะกระแหน๋ ตามมาอีก เป็นขบวน….

        เรื่องนี้ เป็นการเล่า เรื่องการสื่อสาร เชิงจิตวิทยามวลชน โครงสร้างสังคม ที่ซับซ้อนขึ้น และเทคโนโลยี ที่รวดเร็วขึ้น อาจเป็นการยากขึ้น เพราะ การสื่อสารที่แตกกระจาย สังคมเต็มไปด้วยข่าวสารมากมาย  มนุษย์มีสำนึกส่วนลึกที่จะเลือกเสพข่าวร้าย  มากกว่าจะฟังข่าวดี จึงเข้าทาง “ข่าวเฟคนิวส์”  ตามที่ตัวเราเองก็รู้สึกเช่นนั้น

        คำเยียวยา คำแรก จึงน่าจะมาจาก ตัวเราเอง คือการคิดบวก”  ทุกตำรา ทุกวิทยากร ก็จะใช้คัมภีร์นี้ เช่นกัน

        คุณล่ะ ใช้คำไหน เยียวยา (ใจ)….ตัวเอง และคนใกล้ตัว…….

 

#โควิด-19 กี่รอบ กี่รอบ

เราจะรอดไปด้วยกัน

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง