หอการค้าขอนแก่น มั่นใจ ไทย-ลาว รูดปี๊ด ใช้จ่ายคล่องตัวกระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 2 ระหว่างประเทศคึกคัก มั่นใจ ธปท.ขยายโครงข่ายให้บริการครบทุกธนาคารในอนาคต

IMG_2423

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 เม.ย.2567 ที่โรงแรมราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเต็ล จ.ขอนแก่น นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้า จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า เป็นข่าวดีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารแห่งประเทศลาว ได้บรรลุข้อตกลงในการใช้จ่ายร่วมกันระหว่างประเทศ ตามมติที่ประชุมร่วม รมว.คลัง ของไทย และสปป.ลาว และผู้ว่าการธนาคารอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting) ครั้งที่ 11 สปป.ลาว ด้วยการกำหนดเปิดตัวแทนการให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่าน ระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่ายระหว่าง 2 ประเทศ ได้สะดวกและกระตุ้นภาพรวมทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ได้อย่างดีโดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ของไทยและเทศกาลปีใหม่ลาว ที่กำลังจะมาถึง

“จากข้อมูลมติที่ประชุม ตามที่ สปป.ลาว ในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ ได้ผลักดันนโยบายและโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยระยะแรก ลูกค้าธนาคารใน สปป.ลาว สามารถใช้แอปพลิเคชันธนาคารพาณิชย์ลาวที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าในไทยที่เข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่ระยะที่ 2   ลูกค้าธนาคารไทย จะสามารถใช้แอปพลิเคชั่นธนาคารไทยที่เข้าร่วมโครงการ ชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าใน สปป. ลาวที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะเริ่มภายในเดือน มิ.ย.นี้เป็นต้นไป

นายเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้า จ.ขอนแก่น

นายเข็มชาติ กล่าวต่ออีกว่า ปัจจุบันการเดินทางระหว่างประเทศ โดยเฉพาะผ่านพรมแดนหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ ด้วยสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 แต่ละวันมีอัตราการเดินทางเข้าและออก จำนวนมาก ซึ่งแสดงถึงอัตราการใช้จ่ายต่อคน ต่อครั้งจำนวนมากเช่นกัน

โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.หนองคาย-อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น ที่มีคนลาวเข้ามาในพื้นที่แต่ละวัน เพื่อมาซื้อสินค้า-มาหาหมอ ,มาท่องเที่ยว มาเจรจาธุรกิจ และประชุมสัมมนา และแม้ว่าในช่วงที่ 2 ในเดือน มิ.ย.ที่จะถึงนี้เป็นคนลาวจะสามารถใช้บริการแบบรูดบัตรเครดิต หรือสแกนกจ่ายผ่านระบบคิวอาร์โค้ดได้เฉพาะเพียงธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารกสิกรไทยและธนาคารกรุงศรีอยุธยา  แต่ก็มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์ของไทยจะเข้าร่วมโครงการเพื่อช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจของไทยและลาว รวมทั้งอาเซียนเติบโตร่วมกัน ในสังคมดิจิทัลที่ยั่งยืนต่อไป

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง