ความเสี่ยง จาก สภาพัฒน์ฯ

ความเสี่ยง จาก สภาพัฒน์ฯ
“ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน”

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

ขอเลี่ยง ประเด็น ปะทะ ระหว่าง “2 เศรษฐ” คือ “เศรษฐา” และ “เศรษฐพุฒิ” เพราะไม่เป็นผลดีกับประเทศชาติ การทำงานควรเป็นการ “บูรณาการ”  ดีกว่าบดขยี้กันออกสื่อ ให้ประชาชน สิ้นหวัง

ความเสี่ยงเป็นเรื่อง ที่ผู้บริหารประเทศ ควรหยิบขึ้นมากางบนโต๊ะ แล้วนำมาเป็นปัจจัยหนึ่งในการวางแผน

หันมาฟัง หน่วยงานที่เป็นระดับ “มันสมอง ของประเทศกันบ้าง คือ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.) หรือเรียกกัน ติดปากว่า “สภาพัฒน์ฯ

สภาพัฒน์ฯ ก่อตั้งมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม มีนโยบายให้จัดตั้งหน่วยงาน ชื่อ “สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ” ปี 2493 

ต่อมาในปี 2504  ยุค  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบัน และเป็นหน่วยงานที่ยกร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 1 เริ่ม เมื่อปี 2504 ( กำหนดไว้ ฉบับละ 6 ปี ) ปัจจุบัน อยู่ช่วงของ แผนฯฉบับ ที่ 13 ( 2566-2570)

การทำงานของ สภาพัฒน์ฯ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้ พรบ.สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม พศ. 2561 มีกรรมการ 19 คน  ผู้นำในการบริหารองค์กร คือ เลขาธิการ-คนปัจจุบัน คนที่ 17 ชื่อ  นายดนุชา พิชยนันท์ 

สภาพัฒน์ ฯ ออกมาแถลง เรื่อง ความเสี่ยง” ของประเทศไทย ไว้ ราว 4 ด้าน ได้แก่

1 ด้านภูมิรัฐศาสตร์  การแบ่งโซนซีกโลก ตะวันออก ตะวันตก และการมีสงครามเป็นย่อมๆ จับคู่กันแบบ ถึงเลือด ถึงเนื้อ  จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะลุกลาม ได้ทุกเมื่อ

2 ด้านเศรษฐกิจโลก ที่แสดงอาการ อ่อนแอ นั่นหมายถึง การทำมาค้า ไม่คล่อง

3 ด้านการส่งออก เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ข้อ 2  โดยเฉพาะ สองพี่เบิ้มของโลก คือ สหรัฐและจีน

การส่งออกของไทย จึงไม่เติบโต ทั้งที่เป็น เครื่องจักรตัวสำคัญ ของประเทศ

4 ด้านการท่องเที่ยว พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยว หลุดเป้า   และที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ก็ไม่ใช่ นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนัก แถมยังมี “ตัวร้าย” ปะปน เข้ามาสร้างความเสียหายอีกด้วย

นับเป็น “ความเสี่ยง” ในภาพกว้าง หลายคน อาจคิดว่า ไกลตัว….แต่ลองสังเกตว่า กระทบกันตัวเองไหม…ค้าขาย คึกคักไหม ทำเงินเข้ากระเป๋า ฝืดเคืองไหม ข้าวของ เครื่องใช้ แพงขึ้นไหม  และที่สำคัญมีนโยบายใด ของรัฐบาล เข้ามาสนับสนุนการทำกินไหม นอกจาก อาการ “แจก” ให้ได้ เฮ.. กันเพียงเสี้ยววินาที ด้วยกล้องชัตเตอร์ ที่มาทำข่าว แล้วก็เงียบงันกันไป…..

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง