ขอนแก่น ปีนี้ใช้ “หลา” เปิดงานไหมนานาชาติ หนึ่งในอุปกรณ์ทอผ้า

IMG_5316

เปิดใหญ่อย่างเป็นทางการ งานเทซกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว งานกาชาดดจังหวัดขอนแก่น และงานขอนแก่นซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2566 โดยปีนี้ใช้ หลา เปิดงาน สัญลักษณ์หนึ่งในอุปกรณ์สำหรับใช้ในกระบวนการทอผ้า พร้อมแฟชั่นโชว์จากผ้าไหมนานาชนิด

คลิปLiveสด

เมื่อเวลา 21.00 น. วันที่ 29 พ.ย.2566 ที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราขการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว งานกาชาดจังหวัดขอนแก่น และงานขอนแก่นซอฟต์พาวเวอร์ประจำปี 2566 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ กงสุลจากหลายประเทศ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน พ่อค้า และประชาชนนักท่องเที่ยวเข้าร่วมในพิธีเปิดกันอย่างเนืองแน่น โดยมีการแสดงของนักแสดงชายหญิงที่สวมใส่ชุดจากผ้าไหมนานาชนิด โดยในปีนี้ได้มีการนำ หลา มาใช้ในพิธีเปิดด้วย โดยหลา หรือ ไน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม เป็นการนำมาแสดงเชิงสัญลักษณ์ใช้หลาเปิดงานไหมนานาชาติปีนี้อย่างยิ่งใหญ่ ท่ามกลางเสียงตอบรับและคำชมจากนักท่องเที่ยวว่าปีนี้จัดงานได้อย่างสวยงามและน่าสนใจอย่างมาก

นายไกรสร กองฉลาด กล่าวว่า งานงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว งานกาชาดจังหวัดขอนแก่น และงานขอนแก่นซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2566 นั้น จัดขึ้นด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยงานจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. – 10 ธ.ค. 2566  สำหรับงานไหมขอนแก่น เป็นงานที่จัดต่อเนื่องมายาวนานร่วม 45 ปี ด้วยจังหวัดเล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม จึงจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำปีของจังหวัด โดยในปีนี้นั้น จัดงานเทศกาลไหมนานาชาติประเพณีผูกเสี่ยว งานกาชาดจังหวัดขอนแก่น และงานขอนแก่นซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2566 และเป็นปีที่จังหวัดขอนแก่นมีอายุ 226 ปีด้วย ซึ่งการจัดงานในปีนี้ ยังเป็นการยกระดับงาน สู่ความเป็นนานาชาติและเป็นเมืองขอนแก่นซอฟต์พาวเวอร์ ให้ชาวขอนแก่นได้นำสินค้าที่มีอยู่ในชุมชนออกมาจำหน่าย และจัดแสดงออกสู่สายตาผู้เข้าชมงาน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดขอนแก่นมีการหมุนเวียนยิ่งขึ้นอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า หลา หรือ ไน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในกระบวนการทอผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ลักษณะโครงสร้างของหลาประกอบด้วย กงล้อขนาดใหญ่ มีขา มีฐานยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ที่จับสำหรับหมุนด้วยมือ เรียกว่า แขนหลา เพื่อให้กงล้อหมุนรอบตัวเอง กงล้อนี้มีสายพานโยงไปอีกด้านหนึ่ง เรียกว่า สายหลา ส่วนหัวหลาจะอยู่ด้านซ้ายของวงล้อ ที่หัวหลาจะมีแกนเหล็กเล็ก ๆ เรียก เหล็กไน ที่วางอยู่บนหูหลา เมื่อหมุนกงล้อ เหล็กไนก็จะหมุนตามอย่างเร็ว โครงสร้างของหลาจะทำจากไม้เนื้อแข็ง ส่วนวงล้อนั้นประกอบจากซี่ไม้ไผ่

หลาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปั่นไหมจากอักมาสู่โบกเพื่อทำเป็นเส้นพุ่ง เข็นหรือปั่นหมี่ 2 เส้นรวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน หรือเข็นควบกัน ถ้าเป็นหมี่คนละสี เข็นรวมกันแล้ว เรียกว่า หางกระรอก นอกจากนี้หลายังใช้แกว่งหมี่ เป็นการเก็บปุ่มที่เรียกว่า ขี้หมี่ออกจากเส้นหมี่ ทำให้เส้นไหมเรียบเสมอและบิดเป็นเกลียวแน่นขึ้น

การใช้งานหลามีหลายรูปแบบ ดังนี้กรณีผ้าฝ้าย

1.จะใช้เพื่อเข็นหรือปั่นปุยฝ้ายให้เป็นเส้นฝ้าย

2.ใช้ปั่นเส้นฝ้ายเข้าหลอด เพื่อนำไปใส่กระสวย ทำเป็นเส้นพุ่งสำหรับทอผ้า

กรณีผ้าไหม

1.ใช้แกว่งไหม เพื่อเก็บขี้ไหมหรือปุ่มส่วนเกินออกจากเส้นไหม และปั่นเกลียวเส้นไหมทำให้เส้นไหมเรียบสม่ำเสมอ

2.ใช้เข็นหรือปั่นเส้นไหม 2 เส้นให้รวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน เข็นควบกัน หรือเข็นคุบกัน ถ้าเป็นเส้นไหมคนละสีเข็นรวมกัน เรียกว่า มับไม

3.ใช้ปั้นเส้นไหมเข้าหลอด

วิธีการเข็นหรือปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นนั้น เป็นภูมิปัญญาที่ต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญจึงจะทำให้เส้นฝ้ายไม่ขาดระหว่างเข็น มีเส้นเรียบสวยและขนาดสม่ำเสมอ ซึ่งขั้นตอนการเข็นเริ่มจากมือข้างหนึ่งนำปลายม้วนฝ้ายที่ล้อไว้แล้วจ่อไปที่ไน ส่วนมืออีกข้างจับที่หมุนของหลาเพื่อให้ไนหมุนตาม ไนจะหมุนเอาม้วนฝ้ายเข้าไปตีเกลียว เมื่อดึงม้วนฝ้ายเข้าออกก็จะเป็นเส้นฝ้าย เมื่อผ่อนมือย้อนกลับ เส้นฝ้ายก็จะม้วนอยู่กับเหล็กใน เมื่อใกล้จะหมดม้วนฝ้าย ก็เอาม้วนฝ้ายอันใหม่ทำต่อเนื่องกับม้วนฝ้ายอันเดิมให้เป็นเส้นเดียวกัน จนเส้นฝ้ายเต็มเหล็กไน จึงค่อย ๆ คลายเส้นใยฝ้ายจากเหล็กในใส่ไม้เปียฝ้ายเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง