นายกรัฐมนตรี รับเงินเดือน 125,590./บาท ต่อเดือน เท่ากับ ประธานสภาฯ

ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ปะจัน ]

19 พฤษภาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง-กกต. ประกาศรับรองสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร-สส.  จนครบ 500 คน ประกอบด้วย สส.ระบบแบ่งเขต 400 คน และ ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน

มาดูกันหน่อย พวกเขา ทั้ง 500 คน รับเงินเดือนที่มาจากภาษี ของประชาชน อย่างพวกเรา เดือนละกี่บาท  ตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” หรือ “ประธานสภาฯ”  ที่ทวงสิทธิกันไปมานั้น รับเงินเดือน เท่าไหร่กันล่ะนี่….

นายกรัฐมนตรี เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 75,550./ + เงินเพิ่ม 50,000./ รวม 125,590./ บาท

ประธานสภาผู้แทนราษฎร เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 75,550./ + เงินเพิ่ม 50,000./ รวม 125,590./ บาท

ประธานวุฒิสภา เงินประจำตำแหน่ง ต่อเดือน 74,420./ + เงินเพิ่ม 45,500./ รวม 119,920./ บาท

***พบว่า นายกรัฐมนตรี รับเงินเดือน เท่ากับ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ***

***ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับเงินเดือน มากกว่า ประธานวุฒิสภา 5,670./บาท ต่อเดือน***

ผู้นำฝ่ายค้าน ,รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และ รัฐมนตรี ทุกกระทรวง รับเงินเดือนเท่ากัน คือ เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 73,240./ + เงินเพิ่ม 42,500./ รวม 115,740./ บาท

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภา รับเงินเดือนเท่ากัน คือ เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 71,230./ + เงินเพิ่ม 42,330./ รวม 113,560./ บาท

นอกจากนี้  สส. และ สว. มีกลุ่มคนที่ช่วยทำงาน อีก 8 คน ได้แก่ ผู้ช่วยดำเนินการ 5 คน รับเงินค่าตอบแทนต่อเดือน คนละ 15,000./ ที่ปรึกษา/นักวิชาการ/เลขานุการ รับต่อเดือน คนละ 16,000./,12,800./และ 9,600./ บาท ตามลำดับ รวมเป็น เงินสำหรับผู้ช่วย สส./สว/ ทั้ง 8 คน เท่ากับ 113,400./บาท ต่อเดือน

** สส. และ สว. รับเงินเดือน ตัวเอง และผู้ช่วย รวมเป็น 340,360./บาท ต่อเดือน

** งบประมาณ รายจ่าย สำหรับ สส. จำนวน 500 คน + ผู้ช่วย 8 คน ราว 170./ ล้านบาท ต่อปี  

งบประมาณ รายจ่ายนี้  มาจากภาษี ที่นำมาเป็นค่าตอบแทน ให้กับ “ตัวแทน” ของพวกเขา หลังจากหย่อนบัตรเลือกตั้ง ทั่วไป เมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา  และยังไม่รวม ค่าใช้จ่าย ตามสิทธิ ต่างๆ เช่น เบี้ยประชุม ค่าเดินทางเมื่อต้องปฏิบัติราชการ ฯลฯ

รายรับ ของ “ตัวแทน” เหล่านี้ อาจเทียบเท่ากับ ค่าจ้าง ระดับ “ผู้อำนวยการ” ของ ภาคเอกชน แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ “อำนาจ” ในการสั่งการ และมีผลบังคับใช้บังคับตามกฎหมาย เช่น คำสั่งแต่งตั้งโยกย้าย ข้าราชการ การปรับกฎ ระเบียบต่างๆ การกำหนดนโยบาย กำหนดทิศทางของงบประมาณ และอื่นๆ จึงเป็นที่ “หมายปอง”  ของ นักการเมือง ตามที่ปรากฏ เป็นข่าว นั้นแล…

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง