สนง.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ติดตามความก้าวหน้าแผนบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำชี เตือนให้เตรียมรับมือสภาวะเอลนีโญ ฝนจะน้อยกว่าปกติ

IMG_7264

สทนช. ลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ .ขอนแก่น หารือหน่วยงานวางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2566 พร้อมเปิดแผนพัฒนาลุ่มน้ำชีตอนกลาง ลดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมแล้งซ้ำซากแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบ

เมื่อเวลา 09.00 .วันที่ 10 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เขื่อนอุบลรัตน์ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยนายพิสิษฐ์ วงศ์เธียรธนา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดขอนแก่น  พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นติดตามความก้าวหน้าผลการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการบริหารจัดการน้ำเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยฤดูฝน 66 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นและลุ่มน้ำชี

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งพื้นที่เฉพาะ(Area Based) ชีตอนกลางนั้น สทนช. เล็งเห็นสภาพปัญหาในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ที่มีปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค ปัญหาด้านคุณภาพน้ำ ฯลฯ อยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงต้องเร่งดำเนินการหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปี ..2561-2580) เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนกลาง ประกอบด้วย ลุ่มน้ำสาขา 9 ลุ่มน้ำสาขา ครอบคลุมพื้นที่ 459 ตำบล67 อำเภอ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคามจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดอุดรธานี รวมพื้นที่ประมาณ12.85 ล้านไร่

จากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่โครงการมีสภาพปัญหาทั้งด้านอุทกภัย ภัยแล้งซ้ำซากและฝนทิ้งช่วงเป็นประจำทุกปี รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งพบเกือบทุกพื้นที่ มีเสี่ยงภัยแล้งประมาณ 7.47 ล้านไร่ เนื่องจากมีปริมาณน้ำเก็บกักใช้การของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางรวม 2,478 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 43 ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี ขณะที่ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคการเกษตร ปศุสัตว์ ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวทุกกิจกรรมรวมกันไม่ต่ำกว่า3,370 ล้าน ลบ../ปี ส่งผลให้ขณะนี้มีปริมาณน้ำที่ขาดแคลน 504 ล้าน ลบ./ปี ส่วนฤดูฝนจะประสบปัญหาน้ำท่วมเกิดจากน้ำท่วมล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มริมน้ำชีและลำน้ำสาขาเนื่องจากมีปริมาณน้ำมากกว่าความจุลำน้ำและมีสิ่งกีดขวางการระบายน้ำหรือได้รับผลกระทบจากท้ายน้ำที่มีระดับสูงจนไม่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ทัน พบว่ามีปริมาณน้ำส่วนเกินที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมประมาณ 440 ล้านลบ../ปี มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมากกว่า 1.31 ล้านไร่ มีครัวเรือนได้รับผลกระทบอย่างน้อย85,700 ครัวเรือน

นอกจากนี้ยังพบปัญหาปัญหาขาดแคลนน้ำดิบสำหรับผลิตประปา ปัญหาคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมเสื่อมโทรมจากระบบบำบัดน้ำเสียไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ น้ำเสียที่ปล่อยจากการทำการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งน้ำทิ้งจากมาจากด้านเหนือน้ำก่อนเข้าพื้นที่โครงการ ล้วนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศน์

ด้าน นายพิสิษฐ์ วงศ์เธียรธนา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมพฤษภาคม 2566 จังหวัดขอนแก่นได้ดำเนินการตามมาตรการด้านน้ำต้นทุนเพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ด้วยการก่อสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ 26 อำเภอ 124 ตำบล จำนวน 332 ฝาย รวมปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้น 8 ล้าน ลบ.. และได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยฤดูฝน ปี 2566 ได้แก่ การกำหนดพื้นที่เสี่ยง การตรวจสอบความพร้อมของอาคารควบคุมบังคับน้ำ/ระบบระบายน้ำ การเตรียมความพร้อมแผนป้องกัน แผนเผชิญเหตุ ความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องจักรพร้อมใช้งานและเครื่องจักรเครื่องมือที่จะขอรับการสนับสนุน ซึ่งพื้นที่จังหวัดขอนแก่นมีพื้นที่เสี่ยงอุกทกภัยอยู่ในเกณฑ์สูง

พื้นที่เศรษฐกิจชุมชนเมืองขอนแก่น มีพื้นที่เสี่ยงจำนวน 47 จุด ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลบ้านเป็ด และ เทศบาลตำบลเมืองเก่า, พื้นที่แม่น้ำชี (น้ำเอ่อล้นตลิ่ง) มีพื้นที่เสี่ยงจำนวน 8 อำเภอ 23 ตำบล ประมาณ 115,000 ไร่ประกอบด้วย  .แวงน้อย จำนวน 2 ตำบล .แวงใหญ่ จำนวน 2 ตำบล .โคกโพธิ์ชัยจำนวน 2 ตำบล .ชนบท จำนวน 4 ตำบล .มัญจาคีรี จำนวน 4 ตำบล .บ้านแฮดจำนวน 2 ตำบล .พระยืน จำนวน 3 ตำบล และ .เมืองขอนแก่น จำนวน 4 ตำบล, พื้นที่ติดแม่น้ำพอง น้ำเอ่อล้นตลิ่ง

พื้นที่เสี่ยง จำนวน 6 อำเภอ 27 ตำบล ประมาณ 58,500 ไร่ ประกอบด้วย .สีชมพูจำนวน 3 ตำบล .หนองนาคำ จำนวน 3 ตำบล .ภูเวียง จำนวน 5 ตำบล .อุบลรัตน์จำนวน 5 ตำบล .น้ำพอง จำนวน 7 ตำบล และ .เมืองขอนแก่น จำนวน 5 ตำบล, พื้นที่ติดลำน้ำเชิญ น้ำเอ่อล้นตลิ่ง มีพื้นที่เสี่ยง จำนวน 4 อำเภอ 18 ตำบล ประมาณ 9,500 ไร่ประกอบด้วย  .ภูผาม่าน จำนวน 4 ตำบล .ชุมแพ จำนวน 6 ตำบล .หนองเรือจำนวน 7 ตำบล และ  .ภูเวียง จำนวน 1 ตำบล

ภายหลังการประชุม ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเมื่อก่อนไม่มีความรุนแรงมาก แต่ปัจจุบันสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงบางครั้งจะมีปริมาณฝนเกินปริมาณที่เตรียมรับมือไว้หรือเขื่อนต่างๆที่เตรียมรับมือไว้ ในบางปีอาจจะมีฝนน้อย ฝนมาก

โดยเฉพาะปีนี้จะมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ซึ่งปริมาณฝนจะน้อยกว่าค่าปกติกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินว่าปีนี้ฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณอย่างน้อย 5% เดือนพฤษภาคมจะเห็นปริมาณฝนที่ตกจริงน้อยกว่าการคาดการณ์ จึงเป็นข้อมูลต้องตระหนักถึงแนวโน้มที่จะมีปริมาณฝนน้อยในปีนี้ ส่วนในเขื่อนอุบลรัตน์ตอนนี้มีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยแนวโน้มมีปริมาณน้ำฝนที่จะเข้ามาค่อนข้างน้อย ทางหน่วยงานต่างๆมีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำไว้เบื้องต้นในปีนี้จะบริหารจัดการน้ำเพียงแค่ปีเดียวไม่ได้ต้องบริหารจัดการ2 ปี ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 และมีการเสนอเข้ากองอำนวยการน้ำเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา

ในส่วนพื้นที่การเกษตรที่สำคัญโครงการชลประทานหนองหวาย การชลประทานมีการส่งเสริมรณรงค์การใช้น้ำฝนเป็นลำดับแรก เขื่อนและอ่างเก็บน้ำจะมีการเสริมในช่วงฝนทิ้งช่วง ขอรณรงค์ให้เกษตรกรเพาะปลูกประมาณปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปเพราะช่วงนั้นจะมีปริมาณฝนที่ชุกมีการวางแผนบริหารความเสี่ยงให้เกษตรกรประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง การประเมินสถานการณ์เอลนีโญเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปจนไปถึงเดือนมีนาคม 67 หลังจากนั้นแล้วต้องมาติดตามกันต่อ แนวโน้มตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปอาจจะมีเอลนีโญได้อีก จากการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งจะเทียบกับปี 2552 แต่ถือว่าโชคดีที่ปีที่แล้วได้เตรียมการบริหารจัดการน้ำอย่างดีปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี 50% ของความจุเก็บกักน้อยกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยแนวโน้มการบริหารจัดการน้ำ 2 ปี มีแนวโน้มที่จะดำเนินการไปได้ค่อนข้างดี

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง