กรมศิลป์ยืนยันกระดูกมนุษย์ที่อ.แวงน้อย เกิดใน “ยุคเหล็ก”

CD6476F6-2798-43C5-8C4B-52F88656B718

คืบหน้ากรณีชาวบ้านพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณในที่นาตัวเอง ล่าสุดกรมศิลปากรพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ ยืนยันโครงกระดูกกลางทุ่งนา เป็นกระดูกมนุษย์บรรพบุรุษสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคเหล็ก อายุประมาณ 2,500-1,500 ปี ขณะที่ชาวบ้านเชื่อผีบรรพบุรุษเจอลูกสาวอยากให้ลูกสาวเป็นคนพาขึ้นมาเพื่อทำบุญส่งดวงวิญญาณ

เมื่อเวลา 11.00 .วันที่ 21 มีนาคม 2566 นายดุสิต ทุมมากร ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปากร และนักโบราณคดี ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบโครงมนุษย์ที่ชาวบ้านพบในที่นาของนางสาว ณัฐฐกาณฑ์หรือวิ คำชมภูอายุ 52 ปี 332 .1 .แวงน้อย .แวงน้อย .แวงน้อย .ขอนแก่น ซึ่งมีที่นา อยู่ทางด้านทิศใต้ของหมู่บ้านแวงน้อย

ซึ่งทันที ที่เจ้าหน้าที่ศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ลงพื้นที่ก็ได้ทำการสำรวจความสมบูรณ์ของโครงการดูกมนุษย์  โดยได้ทำการวัดโครงร่างของกระดูกพบว่ายาว 2 เมตร ยังมีฟันล่างและฟันบนที่สมบูรณ์  นอกจากนี้ยังทำการแยกวัตถุโบราณที่แตกเป็นชิ้นส่วน ที่มีทั้งหม้อ กระเบื้องและเครื่องมือ รวมถึงเศษกระดูกสัตว์ เพื่อนำเก็บไปรักษาที่ สำนักงานศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น

นายดุสิต ทุมมากร ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปากร  กล่าวภายหลังพิสูจน์สภาพโครงกระดูกมนุษย์ว่า จากการสอบถามเจ้าของพื้นที่นาทราบว่า มีทั้งหมดจำนวน 12 ไร่ 2 งาน แต่ในพื้นที่ที่พบโครงกระดูกนั้นมีพื้นที่ประมาณหนึ่งไร่ ส่วนโครงกระดูกที่พบเป็นโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็กอายุประมาณ 2,500 ปี ถึง 1,500 ปี และพบเศษเครื่องปั้นดินเผา หม้อดินมีลายเชือกทาบ และหินดุที่ใช้สำหรับทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งไม่ได้หนาแน่นมาก แสดงว่าการปรับไถดินครั้งนี้อาจจะยังไม่ถึงระดับที่เจอวัตถุโบราณมาก แต่ถ้าขุดลงไปอาจจะเจออีก

ตอนนี้ต้องขอความร่วมมือจากเจ้าของที่นาว่าให้พอแล้วสำหรับการปรับไถเพื่อจะรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญอันนี้ไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไปเพราะตรงนี้เป็นเนินดินขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 500 เมตรแต่บางส่วนบริเวณชายเนินถูกปรับเป็นที่นาไปแล้วเหลือแต่ยอดเนินซึ่ง ทางเจ้าของที่ดินก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งทางราชการ กำลังงับการปรับไถให้พอเท่านี้ก่อน

นายดุสิต ทุมมากร ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี กล่าวอีกว่า พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นชุมชนโบราณเป็นบ้านเมืองโบราณของบรรพชนคนไทยที่อาศัยอยู่ตรงนี้เมื่อประมาณ 2,500 ถึง 1,500 ปีมาแล้วในสมัยที่เราเรียกว่ายุคกรีกในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ทั้งนี้การดูแลรักษาส่วนนี้ ศิลปากรขอนแก่น ได้รับงบประมาณ จากกรมศิลปากร800,000 บาทเพื่อทำการสำรวจเมืองโบราณชุมชนโบราณในเขตจังหวัดขอนแก่นได้เริ่มงานมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันก็ประมาณสี่เดือนแล้ว ซึ่งเมื่อพบก็จะนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดนี้ไปศึกษาวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับความสำคัญก่อน/หลังว่าชุมชนไหนที่มีความสำคัญและมีลักษณะโดดเด่นและจะทำการศึกษาพัฒนาต่อ ซึ่งก็หมายความว่าทางกรมศิลปากรให้ความสำคัญกับชุมชนเหล่านี้มากโดยเฉพาะชุมชนแห่งนี้เป็นตัวอย่างอย่างหนึ่งที่เราเห็นเพราะเนินแบบนี้เลยและต้องยอมรับว่าภาคอีสานมีเยอะมากโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นเกือบทุกเนินมักจะเป็นของเหล่านี้

มักจะมีผู้ไม่หวังดีกลุ่มค้นหาของเก่ามักจะเข้ามาหาลักขุด โดยนำเอาเครื่องตรวจโลหะเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดไปหาตามหมู่บ้าน แต่ถ้าชาวบ้านเจอคนมีลักขุดก็ให้แจ้งสำนักศิลปากรที่8ขอนแก่นจะดำเนินการดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านั้นถือว่าเป็นบุคคลที่ได้ทำลายมรดกศิลปวัฒนธรรม ดังนั้นจึงถือว่าบ้านแวงน้อยแหล่งนี้ ถือว่าเป็นตัวอย่างซึ่งเราจะเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลและจะหาแนวทางศึกษาวิจัยต่อไป

ส่วนกรณีการที่ชาวบ้านมาขอโชคลาภหรือมาเหยียบย่ำ คงต้องให้ความรู้กับชาวบ้านและต้องบอกประชาชนว่านี่คือหลักฐานที่แสดงถึง บรรพชนของคนไทย ในเมื่อท่านเป็นบรรพชนของเราเราก็ต้องควรจะเคารพตอนนี้ดอกไม้หรือเครื่องบูชาถือว่าเป็น ประเพณีวัฒนธรรม ของ คนไทย ซึ่ง ถือว่า เป็น วัฒนธรรม ที่ดี ซึ่ง หมายถึง ว่า ยัง ระลึกถึง บรรพชน ของเรา อยู่ แต่ เพียงแต่ว่า ต้อง จัดสรร ให้ เหมาะสม ให้ คน เดิน เป็นระเบียบ ให้อยู่ ใน พื้นที่ ที่ เหมาะสม อย่า ไป เหยียบย่ำ ใกล้ๆวัตถุโบราณ ต้องการ ขอบเขต พื้นที่ให้ เหมาะสม ชัดเจน ก็ น่าจะเป็น สิ่งที่ ดี ก็ น่าจะ สามารถ กระทำ ได้ ไม่น่าจะมีปัญหา

ส่วนโครงกระดูกที่พบนั้น ยังตอบไม่ได้ว่าเพศหญิงหรือเพศชาย เพราะโครงกระดูกค่อนข้างชำรุดมาก อาจเพราะกาลเวลาหรือมีการชำรุดมาจากอดีตไม่ใช่การชำรุดจากการค้นพบ อาจถูกแรงกดของแผ่นดินทำให้แบนมากโครงกระดูกผุมากต้องขอเวลาวิเคราะห์

ในขณะที่นางสาว ณัฐฐกาณฑ์หรือวิ คำชมภู อายุ 52 ปี กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น กรมศิลปากร   ลงพื้นที่มาตรวจสอบจนทราบว่า โครงกระดูกที่พบในที่นานั้น เป็นกระดูกของบรรพบุรุษของเรา  ก็จะดูแลรักษา และไม่ให้ใครเข้ามาขุดหรือทำลายให้เสียหาย และถ้ามีใครจะเข้ามาชมก็จะต้องแจ้งให้ทราบก่อน ส่วนการทำนานั้นก็ยังจะทำต่อไป  แต่การขุดเนินดินในบริเวณนานั้นจะหยุดไว้เพียงเท่านี้ และจะรักษาทรัพย์สินบริเวณดังกล่าวให้ดีที่สุด

ทางด้านนางทองคูน ถึกนอก อายุ 81 ปี ชาวบ้านแวงน้อยหมู่ 1 เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังถึงประวัติพื้นที่จุดนี้ว่า ตนเองเป็นลูกหลานที่บ้านนี้ตั้งแต่เกิด ได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับโนนสาวเอ้หรือเนินดิน จุดที่ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ซึ่งคำว่า โนน ก็จะเป็นลักษณะเหมือนกับบริเวณนั้นเป็นหมู่บ้านเป็นที่สูงที่คนสมัยก่อนจะเลือกเป็นที่ตั้งของที่อยู่อาศัยเปรียบเหมือนหมู่บ้านในปัจจุบัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ตนเองได้ยินจากปากของพ่อตา ซึ่งพ่อตาก็เล่าสืบต่อกันมาจากพ่อของพ่อตาอีกที บอกว่าที่คนเรียกว่าโนนสาวเอ้นั้นเหตุผลเพราะจะมีผู้หญิงทั้งในหมู่บ้านและจากต่างหมู่บ้านจากโนนต่างๆมาแต่งตัวกันอยู่ที่บริเวณนี้รวมทั้งมาพักผ่อนหลับนอนซึ่งการแต่งตัวก็จะแต่งตัวให้ดูดีสามารถไปอวดเอ้ตามงานบุญ งานมหรสพรื่นเริงต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงอีกหลายโนน แต่โนนสาวเอ้นี้จะไม่มีงานบุญจะเป็นที่สำหรับแต่งตัวของสาวสาวโดยเฉพาะ  ต่างจากโนนอื่นที่มีงานจนเป็นที่เล่าขานสืบต่อกันมาชั่วลูกชั่วหลานจนถึงปัจจุบัน

นางทองคูน ยังกล่าวหลังจากที่ทางเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่มาตรวจสอบยืนยันว่าเป็นโครงกระดูกของมนุษย์บรรพบุรุษอายุหลายพีนปี ว่ารู้สึกดีใจที่เป็นไปตามประสงค์ของบรรพบุรุษที่อยากจะขึ้นมาเพื่อให้ลูกหลานได้ทำบุญไปสู่สุคติและสิ่งที่อัศจรรย์คือเหมือนกับผีบรรพบุรุษนั้นรอคอยลูกหลานมาจึงจะยอมขึ้นมาให้เห็น และที่ดินในบริเวณนี้ไม่มีใครสามารถซื้อได้จนกระทั่งเจ้าของที่นาคือคุนางวิมาติดต่อขอซื้อและสามารถซื้อสำเร็จไปได้ด้วยดีโดยไม่มีอุปสรรค ซึ่งหลังจากซื้อก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ที่นาผืนนี้แต่ไปอยู่ที่ต่างประเทศใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศหลายปีก่อนจะกลับมาร่วมงานบวชลูกชายและมาพบโครงกระดูกโบราณ

ในบริเวณนี้มีร่างทรงเข้ามาทันางวิว่าบรรพบุรุษของนางวิ เห็นลูกสาวกลับมาเมื่อผีบรรพบุรุษเห็น ก็อยากจะให้ลูกสาวนำขึ้นมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้และมาชี้จุด ที่ขุด ก็พบโครงกระดูกทันที ทำให้นางวิและชาวบ้านที่นี่เชื่อว่านางวินั้นเป็นลูกสาวของบรรพบุรุษจริงๆที่รอคอยให้นางวิมาพาขึ้น และในช่วงที่รถแม็คโครมาขุดนั้นก็เกิดสิ่งอัศจรรย์คือมีอีกาสองตัวมาจับที่ขารถแม็คโครไม่ให้ทำงาน เพราะรถแม็คโครกำลังขุดบริเวณที่พบโครงกระดูกแต่พอเลื่อนไปขุดที่อื่น อีกาเรานั้นก็บินหายไป จึงยิ่งทำให้เชื่อว่านางวินั่นคือลูกสาวจริงๆของบรรพบุรุษที่จะพาโครงกระดูกขึ้นมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง