เผยผลสำรวจ 5 นโยบายที่โดนใจชาวอีสานมากที่สุดในการเลือกตั้งส.ส.ปีนี้

5 นโยบายเศรษฐกิจเด่น ที่คนอีสานให้ความสำคัญช่วงหาเสียงเลือกตั้ง คือ ขึ้นค่าแรง/เงินเดือนขั้นต่ำ แก้หนี้/พักหนี้/เติมทุน บำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ  เพิ่มเงินบัตรประชารัฐ/คนละครึ่ง  และลดค่าน้ำมัน/ค่าแก๊ส/ค่าไฟ/หนุนโซล่าเซลล์

วันนี้ (1 มี.ค. 66) อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “นโยบายเศรษฐกิจที่ใช่ของคนอีสาน ผลสำรวจพบว่า 5 นโยบายเศรษฐกิจเด่น ที่คนอีสานให้ความสำคัญช่วงหาเสียงเลือกตั้ง คือ ขึ้นค่าแรง/เงินเดือนขั้นต่ำ นโยบายแก้หนี้/พักหนี้/เติมทุน บำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ เพิ่มเงินบัตรประชารัฐ/คนละครึ่ง และลดค่าน้ำมัน/ค่าแก๊ส/ค่าไฟ/หนุนโซล่าเซลล์  โดยพรรคเพื่อไทยได้รับความนิยมจากนโยบายขึ้นค่าแรง/เงินเดือนขั้นต่ำ ยกระดับสวัสดิการรักษาพยาบาล และเศรษฐกิจสร้างสรรค์/ซอฟต์พาวเวอร์  พรรคไทยสร้างไทยได้ความนิยมจากนโยบายบำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ แก้หนี้/พักหนี้/เติมทุน และเรียนฟรีจนจบ ป.ตรี พรรคก้าวไกลได้ความนิยมจากนโยบายแก้กฎหมายให้ทำธุรกิจง่ายขึ้น เพิ่มอำนาจและงบประมาณให้ท้องถิ่น/จังหวัด เพิ่มสวัสดิการผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง และขึ้นค่าแรง/เงินเดือนขั้นต่ำ พรรคภูมิใจไทยได้ความนิยมจากนโยบายแก้หนี้/พักหนี้/เติมทุน และเพิ่มหรือประกันราคาพืชผล พรรครวมไทยสร้างชาติและพรรคพลังประชารัฐได้ความนิยมจากนโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐ/คนละครึ่ง และลดค่าน้ำมัน/ค่าแก๊ส/ค่าไฟ/หนุนโซล่าเซลล์   และพรรคประชาธิปัตย์ได้ความนิยมจากนโยบายเพิ่มหรือประกันราคาพืชผล และเรียนฟรีจนจบ ป.ตรี

รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่าการสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจที่คนอีสานให้ความสำคัญ และความนิยมของพรรคการเมือง ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2566 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,200 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

เมื่อสอบถามว่า ท่านให้ความสำคัญกับนโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจในประเด็นใดมากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อการเลือก สส. หรือสนับสนุนพรรคการเมือง (เลือกได้เพียงข้อเดียว) และสอบถามต่อว่า นโยบายเศรษฐกิจที่ท่านให้ความสำคัญ ของพรรคการเมืองใด จะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวท่านมากที่สุด และทำการประมวลผลว่านโยบายใดถูกให้ความสำคัญมากที่สุดและนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองใดสามารถดึงฐานเสียงหรือสร้างการตอบรับได้มากน้อยเพียงใด ดังนี้

อันดับ 1 นโยบายขึ้นค่าแรง/เงินเดือนขั้นต่ำร้อยละ 15.7 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคเพื่อไทยร้อยละ 14.5 รองลงมาคือพรรคก้าวไกล ร้อยละ 2.2 และที่เหลือร้อยละ 0.5 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 2 นโยบายแก้หนี้/พักหนี้/เติมทุน ร้อยละ 13.9 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคภูมิใจไทยร้อยละ 6.3 รองลงมาคือพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 4.4 และที่เหลือร้อยละ 3.2 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 3 นโยบายบำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ ร้อยละ 11.1 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 7.6 รองลงมาคือพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.4 และที่เหลือร้อยละ 2.1 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 4 นโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐ/คนละครึ่ง ร้อยละ 9.0 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 6.6 รองลงมาคือพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.2 และที่เหลือร้อยละ 0.2 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 5 นโยบายลดค่าน้ำมัน ค่าแก๊ส ค่าไฟ และหนุนโซล่าเซลล์ ร้อยละ 8.3 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 2.7 เท่ากันกับพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.7 และที่เหลือร้อยละ 2.9 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 6 นโยบายยกระดับสวัสดิการรักษาพยาบาล ร้อยละ 7.2 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคเพื่อไทยร้อยละ 6.4 รองลงมาคือพรรคก้าวไกล ร้อยละ 0.5 และที่เหลือร้อยละ 0.3 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 7 นโยบายด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์/ซอฟต์พาวเวอร์ ร้อยละ 5.8 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคเพื่อไทยร้อยละ 5.3 รองลงมาคือพรรคก้าวไกล ร้อยละ 0.4 และที่เหลือร้อยละ 0.1 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 8 นโยบายเรียนฟรีจนจบปริญญาตรี ร้อยละ 4.6 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.9 รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.6 และที่เหลือร้อยละ 1.1 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 9 นโยบายเพิ่มหรือประกันราคาพืชผล ร้อยละ 4.6 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 2.6 รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 1.5 และที่เหลือร้อยละ 0.5 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 10 นโยบายลดภาษี/ดอกเบี้ย/ต้นทุนธุรกิจ ร้อยละ 4.4 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.3 รองลงมาคือพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 0.7 และที่เหลือร้อยละ 2.4 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 11 นโยบายแก้กฎหมายให้ทำธุรกิจง่ายขึ้น ร้อยละ 3.2 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคก้าวไกล ร้อยละ 2.6 รองลงมาคือพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 0.5 และที่เหลือร้อยละ 0.1 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 12 นโยบายเพิ่มอำนาจและงบประมาณให้ท้องถิ่น/จังหวัด ร้อยละ 3.2 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคก้าวไกล ร้อยละ 2.9 รองลงมาคือพรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 0.2 และที่เหลือร้อยละ 0.1 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 13 นโยบายเพิ่มสวัสดิการผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ร้อยละ 3.1 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคก้าวไกล ร้อยละ 2.3 รองลงมาคือพรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 0.5 และที่เหลือร้อยละ 0.3 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 14 นโยบายหวยบำเหน็จ ได้คืนทุกบาทหลังอายุ 60 ปี ร้อยละ 1.6 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.1 และพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 0.5

อันดับ 15 นโยบายสิ่งแวดล้อม/ขายคาร์บอนเครดิตได้ ร้อยละ 1.6 กลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคภูมิใจไทยร้อยละ 0.7 รองลงมาคือพรรคชาติไทยพัฒนา ร้อยละ 0.3 และที่เหลือร้อยละ 0.6 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

อันดับ 16 นโยบายจัดสรรโฉนดหรือกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน/ธนาคารที่ดิน ร้อยละ 1.5 โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 1.0 รองลงมาคือพรรคพลังประชารัฐ  ร้อยละ 0.4 และที่เหลือร้อยละ 0.1 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

และอันดับ 17 นโยบายจัดการน้ำแล้ง/น้ำท่วม  ร้อยละ 1.1  โดยกลุ่มตัวอย่างนึกถึงหรือตอบรับนโยบายของพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 0.9 รองลงมาคือพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 0.1 และที่เหลือร้อยละ 0.1 เป็นของพรรคอื่นๆ รวมกัน

เมื่อสอบถามว่า  ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน สส. บัญชีรายชื่อให้พรรคใด พบว่า อันดับหนึ่งเป็น พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 33.4 รองลงมาพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 16.0 อันดับ 3 พรรคก้าวไกล ร้อยละ14.6 ตามมาด้วย พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 11.1  พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 5.7  พรคคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.5 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.7และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 2.9

 

เมื่อสอบถามว่า  ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน สส. แบบเขต ให้ผู้สมัครจากพรรคใด พบว่า อันดับหนึ่งเป็น พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 35.1 รองลงมา พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 15.7  อันดับ 3 พรรคก้าวไกล ร้อยละ13.7 ตามมาด้วยพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.3  พรรครวมไทยสร้างชาติ  ร้อยละ 11.2  ร้อยละ 5.1  พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.4 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.7 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 2.9

 

สุดท้ายเมื่อสอบถามว่า  ในการเลือกตั้งที่จะมาถึง ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งเป็น คุณแพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 30.1 รองลงมา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 17.1 อันดับ 3 คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 14.5 ตามมาด้วยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 11.2  คุณอนุทิน ชาญวีรกุล ร้อยละ 10.8 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 5.3 คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร้อยละ 3.4 คนอื่นๆ จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 2.3 พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 1.9 คุณกรณ์ จาติกวณิช ร้อยละ 1.4  และอื่นๆ ร้อยละ 1.9

#

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4%  ประกอบด้วย เพศหญิงร้อยละ 51.0 เพศชาย ร้อยละ 42.8 และกลุ่มหลากหลายทางเพศ ร้อยละ 6.2

อายุ 18-24 ปี ร้อยละ 8.5 อายุ 25-30 ปี ร้อยละ 14.4 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 21.2 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 24.4 อายุ 51- 60 ปี ร้อยละ 17.4 และอายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 14.4

การศึกษา ประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 19.5 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 21.9 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 19.3 ระดับอนุปริญญา/ปวส./สูงกว่า ม.ปลาย ร้อยละ 12.7 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.4 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 2.2

ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 33.1 รองลงมา ผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างสถานประกอบการ ร้อยละ 16.1 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.1  พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.6  งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.1 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.7 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 6.3 และ อื่นๆ ร้อยละ 3.2

ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  รายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 7.8  รายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 36.6 รายได้อยู่ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ  21.3 รายได้ระหว่าง 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 17.5 รายได้ระหว่าง 20,001-40,000 ร้อยละ 13.9.5 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไปร้อยละ 3.0

หมายเหตุ:

นอกเหนือจากผลสำรวจซึ่งนำเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้วความคิดเห็นอื่นๆ ในผลสำรวจนี้เป็นความเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง