นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรพชีวินจากทั่วโลกร่วมประชุมบรรพชีวินวิทยานานาชาติที่ขอนแก่น

นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางทรัพยากรธรณี และซากดึกดำบรรพ์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศทั่วทุกมุมโลกกว่า 400 คน ร่วมประชุมวิชาการบรรพชีวินวิทยานานาชาติ ครั้งที่ 6 รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้ อีสานมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นนับล้านปีแล้ว และขอนแก่นอยู่ในหุบเขาไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ที่โรงแรมพูแมน ขอนแก่น ราชาออร์คิด นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุม วิชาการบรรพชีวินวิทยานานาชาติ ครั้งที่ 6 และเปิดนิทรรศการอุทยานธรณีและซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางทรัพยากรธรณี และซากดึกดำบรรพ์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน มีนาย ไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ

ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่น เป็น 1 ใน 4 จังหวัดขนาดใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งการแพทย์ และการศึกษาในภูมิภาค ตั้งอยู่บนเส้นทางหลักที่สามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกทั้งขอนแก่นยังเป็นแหล่งรวบรวมอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมที่อบอุ่นและหลากหลายด้านภาษา อาหาร และดนตรี และผู้ที่มาเยือนจังหวัดขอนแก่นจะเห็นรูปปั้นหรือหุ่นจำลองไดโนเสาร์นานาชนิด ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และโครงกระดูกขนาดมหึมา ที่มาจากการค้นพบซากไดโนเสาร์ กินเนื้อพวกสไปโนซอรัส และไดโนเสาร์กินพืชขนาดยักษ์พวกภูเวียงโกชอรัส จนนำไปสู่การก่อตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ซึ่งเป็นศูนย์รวมการวิจัยและการศึกษาขนาดใหญ่ของชีวิตช่วงก่อนยุคประวัติศาสตร์ และการค้นพบเหล่านั้นยังนำไปสู่การจัดตั้ง “อุทยานธรณีจังหวัดขอนแก่น” ซึ่งองค์การ UNESCO กำลังจะพิจารณาขึ้นทะเบียนให้เป็น “อุทยานธรณีระดับโลก” ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้และทำวิจัยด้านไดโนเสาร์ที่สำคัญของประเทศไทย และหากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง อุทยานธรณีระดับโลกแห่งนี้จะเป็นแห่งแรกที่มีใดโนเสาร์เป็นจุดดึงดูด

ขณะที่ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้คงจะไม่ใช่ประโยชน์เพียงแค่ประเทศไทยเพราะว่ามีนักวิทยาศาสตร์ด้านบรรพชีวินมาจากทั่วโลก การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยก่อนนับล้านปีมีการเรียกว่าการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในแต่ละช่วงเวลาแต่ละช่วงนั้นตั้งแต่จูลาซิค ไล่มาจนถึงวันนี้จะเป็นตัวชี้วัดได้ว่าอนาคตของโลกของเราจะไปในทิศทางใด เพราะว่าอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมันกำลังย้อนรอยเกิดขึ้นในขณะนี้ก็จะเป็นตัวชี้วัดที่ดีถ้าหากว่าไม่เร่งแก้ไขอนาคตของโลกของเราก็จะสูญพันธุ์มนุษย์ของเราสิ่งมีชีวิตจะสูญพันธุ์ไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้น

นายวราวุธ ศิลปะอาชา กล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนของมีบรรพชินที่มาร่วมงานที่จังหวัดขอนแก่นนั้น จะมองเห็นในเรื่องของความสำคัญว่าเราอยู่ในจุดศูนย์กลางของแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญของโลก ขอนแก่นของเราอยู่ในหุบเขาไดโนเสาร์เราเจอซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่เป็นช้าง 10 กว่าสายพันธุ์ 10 กว่าสปีชีส์ด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์และก็ในพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยนั้นเรา มีสิ่งมีชีวิตอยู่นับล้านๆปีแล้วการที่เรามาประชุมกัน จึงเชื่อว่าการที่ไอทีซีมาประชุมกันที่ขอนแก่น มีจุดมุ่งหมายว่าจะได้สะท้อนให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของประเทศไทยที่เรามีอยู่กับวงการบรรทัดชีวินของโลก และในอนาคตซากดึกดำบรรพ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณี ได้ประสานงานในหลายส่วนทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยราชการให้คอยดูแลรักษาแหล่งสร้างดึกดำบรรพ์ เพราะว่าการดูแลรักษาซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้จะเป็นข้อมูลจะเป็นศาสตร์ ในการที่จะทำให้เราสามารถมองไปข้างหน้าว่าโลกของเราเพราะไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกของเรานั้นในอนาคต จะไปในทิศทางใดจะเป็นอย่างไร จะได้ศึกษาจากประวัติศาสตร์นับล้านๆปีที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ดังนั้น หน้าที่ของกระทรวงทรัพย์คือดูแลรักษาทรัพยากรและก็สมบัติที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นการหางบประมาณก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ ที่เรามีงบประมาณในการดูแลรักษาซากดึกดำบรรพ์ที่เรามีอยู่ หรือแม้แต่กรณีที่เรามีไม้กลายเป็นหินซึ่งเราเองก็ได้รับขึ้นชื่อเป็นประเทศที่เป็นเจ้าของไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก

“การผลักดันของอุทยานธรณีโลก สำหรับตอนนี้เราผลักดันอยู่หลายพื้นที่ รงมถึงจังหวัดนครราชสีมาด้วย ที่จะขึ้นเป็นของยูเนสโก ขณะนี้ของจังหวัดนครราชมาได้อยู่ในลิสต์ที่จะขึ้นในการพิจารณาของยูเนสโก ส่วนในของจังหวัดขอนแก่นก็เป็นอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมการอยู่ในระดับประเทศแล้วและก็กำลังเตรียมการยื่นเอกสารเรื่องอะไรต่างๆในการที่จะนำเสนอต่อยูเนสโก เข้าผ่านครม.เห็นชอบไปเรียบร้อยแล้วและก็จะมีการนำเสนอไปทางยูเนสโกต่อไปโคราชไปติดๆ”

ซึ่งภายหลังเปิดประชุมแล้วนายวราวุธ ศิลปะอาชา ได้เปิดนิทรรศการอุทยานธรณีและซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งในจุดที่แสดงนิทรรศการนั้น มีการนำซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งไม้กลายเป็นหิน และซากปลากลายเป็นหินมาตั้งโชว์ให้ชมด้วย นอกจากนี้ยังมีการจัดทำอาหารโบราณ ซึ่งเป็นยำข้าวเกรียบ และเมี่ยงข้าวเกรียบกรอบให้รัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมงานในชิมกันด้วย

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง