การกระจายอำนาจการปกครอง

การกระจายอำนาจการปกครอง
ปะจัน” โดย “เขี้ยวจัน

ที่นี่….ไม่ใช่คอลัมน์ร้องทุกข์ แต่เป็น การสังคมอุดมปัญญา ลุกขึ้นมา “ทวงสิทธิ” ของการเป็นพลเมืองผู้ตื่นรู้ เจ้าของคะแนนเสียงที่เลือก “ตัวแทน” ในทุกระดับ ของการปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารบ้านเมือง ด้วยข้าราชการ “ตัวแทน” จากส่วนกลาง ทุกกระทรวง ทบวง กรม…[ หน้ารวมบทความ ประจัน ]

ช้าก่อน..อย่าเพึ่งหูผึ่ง เยี่ยงผู้กระหายอำนาจ ที่มักจะถือว่าตนเป็นผู้อยู่เหนือกว่า ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ขึ้นปกครอง บ่งการ สั่งการ ด้วยมือขวาถือตัวบทกฏหมาย ส่วนมือซ้าย อาจหยิบจับ “อะไร “ ระหว่างทางได้…..

การกระจายอำนาจการปกครอง ไม่เคยได้รับการบรรจุไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ มาก่อนเลย เพราะ สาระสำคัญ คงไว้  3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ

กฏหมายรัฐธรรมนูญ  ที่เริ่มมีการบรรจุ เรื่องการกระจายอำนาจการปกครอง คือ ฉบับที่ 16 ปี 2540 จนมี พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พศ. 2542  

การปกครองส่วนท้องถิ่น  คือ การให้คนในท้องถิ่น มีอิสระในการปกครองตนเอง  เข้าใจกันง่ายสั้น หมายถึง การที่รัฐกระจายอำนาจการปกครองให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มิใช่องค์กรกลาง หรือ ส่วนภูมิภาค ทำการบริการสาธารณะบางอย่างภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ

แต่กระนั้น ยังกำหนดองค์ประกอบที่ สำคัญ ไว้ว่า ต้องมีอิสระในการปกครองตัวเอง ส่วนอีกข้อ ระบุว่า ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ อ่านกี่รอบ กี่รอบ ก็ ย้อนแย้ง เข้าใจยากเย็น จริงๆ

กฏหมายรัฐธรรมนูญ พศ.2560 คือ ฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับที่ 20  มาตรา 252  (นำมาจาก มาตรา 285  รัฐธรรมนูญ 2540 )  ระบุ โครงสร้าง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-อปท. ไว้ว่า

  • อปท. ต้องมีสภา กับ ฝ่ายบริหาร แยกกัน เหมือน กับการมี นายกรัฐมนตรี กับ สภา ไงล่ะ
  • สภาท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยตรงของประชาชน เหมือน กับการ หย่อนบัตรเลือกตั้ง สส.
  • ฝ่ายบริหารท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือ มาจากความเห็นชอบของสภา

จึงเป็นที่มาของสภาท้องถิ่น ที่เรา ได้ยินกัน คุ้นหู้ อาทิ เทศบาลตำบล,เทศบาลเมือง,เทศบาลนคร ,องค์การบริหารส่วนตำบล-อบต., องค์การบริหารส่วนจังหวัด-อบจ. และการบริหาร แบบพิเศษ ทั้ง 2 เมือง คือ เมืองพัทยา และ  กทม.

ขอเล่า เป็น บทแรกๆ ปูพื้น แบบเข้าใจ ง่ายสั้น แล้วเราจะไปกันต่อ ในตอนต่อไป ที่ลึกลงไปถึง การทำงาน ติดตามทุกคะแนนเสียง ที่พวกเรา-พลเมืองผู้ตื่นรู้-แอคที ซิติเซ่น  ควรลงมือ… !!!!!!!!!!!!…………

คำท้าย : ขอบคุณ ข้อมูล จากเอกสารการบรรยาย หลักสูตร “ผู้นำเมือง รุ่นที่ 7 “  โดย ศ.ดร.สมคิด  เลิศไพฑูรย์ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง