สหรัฐ ตอกย้ำความร่วมมือในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง พร้อมเดินหน้าสร้างความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรน้ำ ครอบคลุมทุกมิติ

1664590032080

ต้องยอมรับว่าอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทยเป็น 1 ประเทศที่มีคณะทำงานในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน ขณะที่รัฐบาลสหรัฐเป็น 1 ในประเทศที่มีนโยบายที่ชัดเจน มีความมุ่งมั่น ในการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ตลอดจนมีการเสริมสร้างความเข้าใจด้านการจัดการทรัพยากรทางน้ำ สุขภาพอนามัย การศึกษา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โอกาสทางเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยในปี 2565 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จึงได้มอบโอกาสให้กับสื่อมวลชนตัวแทนจากประเทศไทย ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการผู้นำสำหรับอาคันตุกะระหว่างประเทศ หรือ International Visitor Leadership Program (IVLP) ในหัวข้อ Sharing U.S. Best Practices in Development and Partnership in the Region ร่วมเดินทางไปปฎิบัติหน้าที่และร่วมพูดคุดเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในแผนการดำเนินงานของรัฐบาลสหรัฐและการลงพื้นที่จริง ในการเรียนรู้กระบวนการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบกับการบริหารจัดการน้ำและการค้า การลงทุน และการบริหารจัดการชุมชนร่วมระหว่างประเทศ ตามนโยบายของสหรัฐฯในการที่จะช่วยสร้างโลกที่เสรีมากขึ้น มั่นคงมากขึ้น และเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น โดยมอบหมายให้กรมกิจการการศึกษาและวัฒนธรรม เป็นผู้ดำเนินงานและสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างสหรัฐฯกับนานาประเทศ

และทันทีที่สถานการณ์โควิดคลี่คลายลง การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวจึงเริ่มขึ้นทันที ด้วยการนำสื่อมวลชนผู้แทนจากประเทศไทย ได้เดินทางมาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ลงพื้นที่ปฎิบัติงานจริงในจุดที่กำหนด โดยเริ่มจาก การรายงานตัวเพื่อรับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและแผนการดำเนินงานตลอดระยะเวลาที่ปฎิบัติหน้าที่ที่สหรัฐอเมริกา กับสำนักงานอาคันตุกะ ระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างปะเทศ การศึกษาและแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการในภูมิภาคแม่น้ำโขง กับคณะทำงานในห้องปฎิบัติการวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศ แห่งมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก แนวทางการสนับสนุน และส่งเสริมด้านการค้า การลงทุน กับภาคเอกชนผู้มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นในกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ กับผู้อำนวยการค้าและการพาณิชย์ นครซานฟรานซิสโก จากนั้นคณะเดินทางมาที่กรุงวิชิงตัน ดี.ซี ที่ได้กำหนดเป็นหัวข้อในเรื่องการขายความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อความมั่นคงของสามเหลี่ยมแม่น้ำโขง นโยบายต่างประเทศของสหรัฐในภูมิภาคแม่น้ำโขง แนวโน้มเกี่ยวกับระบบการศึกษาของรัฐและวิธีปฎิบัติที่ดีที่สุด

โดยในการปฎิบัติงานที่สหรัฐฯทุกคนจะเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ตามแผนงานที่กำหนด ทั้งยังคงมีการจัดทำประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพให้กับทุกคนตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด และเมื่อสิ้นสุดภารกิจที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.แล้ว คณะได้เดินทางต่อไปยังเมืองเซนหลุยส์ รัฐมิสซูรี ที่จะเป็นการเรียนรู้ในเรื่องการแบ่งปันเรื่อการบริหารจัดการแม่น้ำ และวิธีปฎิบัติที่ดีที่สุดในสถานการณ์วิกฤติการมีส่วนร่วมของชุมชน และมุมมองในการพัฒนาเมืองรอบๆทางน้ำ โดยเข้าชมหน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินของเมืองเซนต์หลุยส์ หรือ CEMA การจัดระบบบริหารจัดการน้ำและการบำรุงรักษาร่องน้ำการเดินเรือในแม่น้ำมิสซิปปี ที่สำนักงานคณะวิศวกรรมเหล่าทัพบกสหรัฐ ประจำเขตเซนหลุยส์ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากของเขตเมืองกรีนวู๊ดและการสร้างความสมดุลโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วมตามโครงการกรีนเวย์ของเมืองเซนต์หลุยส์

จากนั้นคณะเดินทางต่อไปยังเมืองทูซอน รัฐแอริโซนา เพื่อเรียนรู้ด้านการจัดการน้ำข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ ความร่วมมือทางวิชาการที่งมุ่งเน้นด้านกิจการระหว่างประเทศและความมั่นคงทางน้ำ โดยเข้าชมการประปาเมืองทูซอน ที่มุ่งเน้นการใช้แหล่งทรัพยากรน้ำอย่างฉลาด การแลกเปลี่ยนกระบวนการการจัดการเรียนการสอนของคณะวารสารศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ที่มหาวิทยาลัยแอริโซนา การประชุมกับเจ้าหน้าที่ของเมืองและเทศมลฑลโนกาเลส เมืองชายแดนติดกับประเทศเมกซิโก ที่เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการจัดการแหล่งน้ำในสถานการณ์ข้ามชายแดน และการจัดตั้งโรงบำบัดน้ำเสียระหว่างประเทศและการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวสหรัฐกับการรับประทานอาหารร่วมกับคนในชุมชน

ปิดท้ายโครงการของคณะผู้แทนสื่อมวลชนไทย คือการเดินทางมายังเมืองโฮโนลูลู รัฐอาวาย ที่มีการหารือและลงพื้นที่ว่าด้วยเรื่องพันธมิตรในแปซิฟิกเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศ ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสำรองน้ำ ประเด็นด้านชุมชนพื้นเมืองกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม ด้วยการร่วมศึกษาของศูนย์อีสต์-เวสต์ มหาวิทยาลัยฮาวาย ที่มีการศึกษาผลกระทบจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสภาภูมิอากาศ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย,ลุ่มแม่น้ำโขง ในเขตประเทศเวียตนามและกัมพูชา, พื้นที่สามเหลี่ยมแม่น้ำมหาคัมที่อินโดนีเซียและลุ่มน้ำในเขตประเทศเมียนมาร์ การดำเนินงานของสื่อมวลชนที่ไม่แสวหาผลกำไรของ Honolulu Civil Best และการดำเนินงานของเซียร์ราคลับ ออฟฮาวาย ที่เป็นหน่วยงานที่ทำงานเพื่อยกระดับการแก้ไขสภาพภูมิอากาศ การดำเนินงานเพื่อความเป็นธรรม การทำกิจกรรมกลางแจ้ง และการคุ้มครองดินแด น้ำ อากาศ และสัตว์ป่าของฮาวาย อย่างไรก็ตามการดำเนินงานตามโครงการ IVLP เป็นการดำเนินงานด้วยงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯเพื่อมุ่งเน้นการแบ่งปันวิธีปฎิบัติที่ดีที่สุดของสหรัฐฯว่าด้วยการพัฒนาและความร่วมมือในภูมิภาค และเป็นโครงการสำหรับประเทศไทย ที่มอบโอกาสให้กับสื่อมวลชน และหน่วยงานที่ประสานการทำงานร่วมกับสหรัฐฯในด้านต่างๆ ได้ลงพื้นที่ปฎิบัติงานจริงที่ประเทศสหรัฐฯต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง