อวกาศ กับ ชาวโลก @ขอนแก่น

อวกาศ กับ ชาวโลก @ขอนแก่น

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

โลกกลม แต่.. แสง และ เสียง เดินทางเป็นเส้นตรง การสื่อสาร จึงต้องใช้ เครื่องมือ ในการช่วย ตีเส้นโค้ง ย้อนข้อมูลกลับมายังโลก….

การนี้ วิทยาศาสตร์ทางอวกาศ จึงมีการใช้  “ดาวเทียม” สะท้อนสัญญาณตีกลับลงมายังโลก ทั้ง ภาพ เสียง แสง ตำแหน่ง ของวัตถุที่อยู่บนพื้นโลก จึงยิ่งกว่า กระจกเงา ที่รายงานทุกความเคลื่อนไหว ให้มนุษย์บนพื้นโลก ได้สื่อสาร ระหว่างกัน อย่างทันใจ…..

ความสะดวก สบาย ใกล้ตัวพวกเรา ที่นิยมความรวดเร็วในยุคดิจิตัล สมาร์ทโฟน สามารถช่วยงาน ตอบโจทย์พวกเราได้ เกือบทุกเรื่อง

หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญ ในเรื่องนี้ คือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและสารสนเทศ GISTDA  ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขอเล่าสู่กันฟัง แบบง่าย สั้น..ดังนี้

ใน 1 วัน ของเรา รู้กันไหม ว่า เราอยู่กับ “อวกาศ”  ทั้งนั้นเลยนะ อาทิ  การตั้งค่า GPS ในการเดินทาง การสั่งของออนไลน์  การดูพยากรณ์ฟ้าฝน  การจับเวลาในการวิ่ง  การดูถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬา ข้ามโลก การเรียกรถแท็กซี่ และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้หลักการสะท้อนกลับมายังโลก ทั้งนั้น

เมืองไทย มีพัฒนาการด้านอวกาศ ด้วยการต้องลงทุน ซื้อจากต่างประเทศ ยังไม่ได้ค้นคิดด้วยตัวเอง งานต้นน้ำ คือ การสร้างจรวด สร้างดาวเทียม เรายังไม่มีการพัฒนาไปถึงขั้นนั้น จึงต้องนำเข้า

ธุรกิจอวกาศ เริ่มเกิดขึ้นในเมืองไทย ในปี 1991 หรือ เมื่อ  31 ปี ก่อน โดยยุคนั้น จำกันแม่น คือ “ดาวเทียมไทยคม” -เป็นนามพระราชทาน จากในหลวงรัชกาลที่ 9

ปัจจุบัน ไทยเรา มีดาวเทียม ยิงขึ้นสู่วงโคจร ไปแล้ว 8 ดวง ใช้งานได้ 4 ดวง เกิดการค้าขาย ในธุรกิจนี้ เราเรียกว่า “เศรษฐกิจอวกาศ”   ซึ่งพบว่า นักธุรกิจระดับโลก หันมาให้ความสนใจกับธุรกิจนี้ มากขึ้น  เพราะเกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์โดยตรง อย่าง “อีลอน มัสก์”  ประกาศจัดตั้งธุรกิจ SpaceX  นั่นประไร

เช่นกันกับในเมืองไทย พบฐานข้อมูลว่า คนรุ่นใหม่ สนใจธุรกิจอวกาศ เป็น Start Up กันหลายบริษัทแล้ว

นอกจากนี้ พบว่า เมืองไทย ยังไม่มีกฏหมาย เรื่องอวกาศมาก่อนเลย ปัจจุบัน การยกร่าง

พรบ.ผ่านมติ ครม.แล้ว กำลังเดินทางเข้าสู่ กระบวนการของ คณะกรรมการกฤษฏีกา  คาดว่า อีกราว 2 ปี ข้างหน้าจะเกิดขึ้น พร้อมกับ “คณะกรรมการกำกับดูแล“  อดใจรอกันนะ…

 

บันทึกช่วยจำ : ขอบคุณหลักสูตร “ผู้นำเมือง รุ่น 7”  ที่พาคณะนักศึกษา เข้าเยี่ยมชม ได้รับความรู้กันทั่วหน้า

ไทยโชต
ดาวเทียม “ไทยโชต” (Thaichote) ดาวเทียมธีออส (THEOS: Thailand Earth Observation Satellite) นามพระราชทาน จากในหลวง ร.9 เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก ดวงแรก ที่ไทยจัดทำขึ้น น้ำหนักราว 100 กิโลกรัม คาดว่า จะปล่อยขึ้นสู่อวกาศ ในปี 2566 นี้

           

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง