อนาคต การเดินทาง @ขอนแก่น (ซีรีย์ ตอน 5-6)

อนาคต การเดินทาง @ขอนแก่น  (ซีรีย์ ตอน 5-6)

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

สถิติ สามารถนำมาประมวลผล และพยากรณ์ สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในระหว่างทาง อาจมีเหตุไม่คาดฝัน เกิดขึ้นได้ เช่นกัน  เราจึงเรียกว่า การบริหารความเสี่ยง

การคาดเดา หรือพยากรณ์ล่วงหน้า ย่อมมีประโยชน์ในแห่งของการวางแผน เพื่อบริหารจัดการเรื่องได้อย่างมีแผน โดยควรมีแผนเผชิญเหตุ อยู่เคียงข้าง และพร้อมที่จะหยิบออกมาใช้งาน ทุกนาที ด้วยสติที่มั่งคง ที่จะเตรียมรับมือ อย่าง พร้อมพรั่ก…

ในการทำงานทุกชิ้น การวางแผน ย่อมเป็นเรื่องดี เรามีประสบการณ์เรื่อง โควิด-19 กันมาแล้ว ดังนั้น หากเราจะใช้มาเป็นบทเรียนในการเรียนรู้ โลกใบเก่า ที่ไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป ย่อมเป็นเรื่องดี ใช่ไหม

จากนี้ไป ขอเล่าสู่กันฟัง แบบเป็น ซีรี่ย์ ขนาด 6 ตอน ดูซิว่า พวกเรากำลังจะเดินทางบนถนนสายเดียวกัน และจะช่วยส่องทาง พยากรณ์ กันไว้อย่างไร

ตอนที่ 5  : อนาคต ของการเดินทาง

มนุษย์ชอบเคลื่อนย้าย จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เราเรียกว่า เป็น “การเดินทาง

สถิติ การเดินทางของมนุษย์ คือ 62 นาที ต่อ วัน หรือ ราว 377 ชั่วโมง ต่อคน ต่อปี ด้วยระยะทาง โดยเฉลี่ย  ราว 8.2 กิโลเมตร  หากคำนวน เป็นค่าแทกซี่ เป็นเงิน 77 บาท

ในสถานการณ์โควิด-19 การเดินทาง ลดลง เพราะต้องทำงานกันที่บ้าน หรือ WFH การเดินทาง จึงลดลง 11 % ในขณะที่พวกเขา มีความถี่ที่จะเดินทางไปร้านค้า เพิ่มขึ้น 17%

มีการเก็บสถิติ การเดินทางพบว่า อุบัติเหตุ มักเกิด ในวันหยุดยาว และมีจำนวนที่เกิดขึ้น กว่า 4,482 ครั้งต่อปี  และแถมด้วย เวลาของการนั่งรอรถสาธารณะ  คือ 20 นาที

อนาคตที่มนุษย์ ใฝ่ฝัน ด้านการเดินทาง  เป็นแนวทางที่น่าสนใจ คือ  การตรงเวลา-คือไม่รอ แหละนะ , การไม่เป็นเจ้าของ- หมายถึง การชอบใช้พาหนะสาธารณะ ไม่นิยมซื้อรถยนต์ส่วนตัว และ นิยม ชื่นชม การเชื่อมต่อ ทุกระบบเข้าด้วยกัน รถ-เรือ-รถไฟฟ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเป็นทางเลือกที่พวกเขาจะเลือกได้ คือ  การเลือกใช้พลังงาน เช่น ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ  แก๊ส  หรือ แบตตอรี่แห้ง  เป็นต้น  

 

บันทึกช่วยจำ : ขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  (องค์การมหาชน) และศูนย์วิจัย อนาคตศึกษา  ฟิวเจอร์เทลส์แล็บ ที่จัดทำงานวิจัยชิ้นนี้ออกมา ให้เราได้ เตรียมพร้อม สู่อนาคต

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง