อนาคตของการเรียนรู้ @ขอนแก่น (ซีรีย์ ตอน 3-6)

อนาคตของการเรียนรู้ @ขอนแก่น (ซีรีย์ ตอน 3-6)

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

สถิติ สามารถนำมาประมวลผล และพยากรณ์ สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในระหว่างทาง อาจมีเหตุไม่คาดฝัน เกิดขึ้นได้ เช่นกัน  เราจึงเรียกว่า การบริหารความเสี่ยง

การคาดเดา หรือพยากรณ์ล่วงหน้า ย่อมมีประโยชน์ในแห่งของการวางแผน เพื่อบริหารจัดการเรื่องได้อย่างมีแผน โดยควรมีแผนเผชิญเหตุ อยู่เคียงข้าง และพร้อมที่จะหยิบออกมาใช้งาน ทุกนาที ด้วยสติที่มั่งคง ที่จะเตรียมรับมือ อย่าง พร้อมพรั่ก…

ในการทำงานทุกชิ้น การวางแผน ย่อมเป็นเรื่องดี เรามีประสบการณ์เรื่อง โควิด-19 กันมาแล้ว ดังนั้น หากเราจะใช้มาเป็นบทเรียนในการเรียนรู้ โลกใบเก่า ที่ไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป ย่อมเป็นเรื่องดี ใช่ไหม

จากนี้ไป ขอเล่าสู่กันฟัง แบบเป็น ซีรี่ย์ ขนาด 6 ตอน ดูซิว่า พวกเรากำลังจะเดินทางบนถนนสายเดียวกัน และจะช่วยส่องทาง พยากรณ์ กันไว้อย่างไร

ตอนที่ 3  : อนาคตของการเรียนรู้

พูดถึงการศึกษา ดูว่า…… อ่อนแรงขึ้นมาพลัน เพราะข้อมูลตรงหน้า  พบว่ากระทรวงศึกษา ธิการ  เป็น กระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด ของประเทศ ราว 1 ใน 4 ของก้อนเงิน งบ ประมาณ ของทั้งประเทศ

แต่ข้อมูลตรงหน้า เช่นกัน..พบว่า การพัฒนาบุคคลากร อันเป็นพลังสำคัญของประเทศ ช่างล้าหลัง ถอยหลัง…มันชวนน้อยใจ จริงๆ นะ

ลำดับของจากการสำรวจ ของ 79 ประเทศ ใน 3 ภาควิชา อาทิ ความสามารถในการอ่าน, ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์  พบว่า เด็กไทย อยู่ในอันดับ ที่ 68 / 59 / 55 ตามลำดับ

สถิติ ยังบ่งชี้อีกว่า กว่า 60 % ของผู้สำเร็จการศึกษา มักจะไม่ได้ทำงานตรงตามสายงาน ที่ตัวเองได้เรียนมา นั่นหมายความว่า  เราไม่ได้มีการตระเตรียมทรัพยากรมนุษย์  มาเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ที่พวกเขาอยู่ในรั้วของสถาบันการศึกษา

ทางเลือกของพวกเขา คือ หนึ่ง : ต้องใช้เวลาฝึกฝน กับศาสตร์ที่ไม่คุ้นเคย เมื่อก้าวสู่ระบบการทำงาน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาขององค์กร ไปอย่างน่าเสียดาย   และ สอง : หันหลังกับสิ่งที่ร่ำเรียนมา แล้วหันไปทำงานที่ตัวเองชอบ ตามฝัน ทำการทรัพยากรของประเทศ ไม่ต่อเนื่อง

แล้วอนาคต จะเป็นเช่นไร กัน….งานวิจัยชิ้นนี้ พยากรณ์ว่า พวกเราควรสร้างสิ่งแวดล้อม น่าอยู่ น่าเรียน รื้อฟื้นประวัติศาสตร์แห่งความภาคภูมิใจ ให้รุ่นลูกหลาน เช่น การมีพิพิธภัณฑ์ มีห้องสมุด มากขึ้น ผู้ปกครอง มีส่วนสำคัญ ในการเป็นพี่เลี้ยง เป็นตัวอย่าง เด็กๆได้พบเห็น

ในทุกช่วงวัยของพวกเรา ไม่ควรหยุดเรียนรู้ และไม่เพียงเรียนในห้องเรียน ห้องสัมมนา ห้องอบรม แต่การเรียนรู้ กระจายตัวอยู่ทุกหนแห่ง  สื่อบุคคล สื่อมวลชน ในทุกมิติ

ประเด็นสำคัญ คือ การปลูกฝัง การเรีบนรู้ ที่ต้องฝังชิฟ ไว้ในตัวของ คน ทุกคน คนไทย มีสถิติการใช้ โซเซียลมีเดีย เพื่อการศึกษาเพียง 7 % เท่านั้น  เราจะเพิ่มตัวเลข ในการเรียนรู้นี้ได้อีกหรือไม่ ถามใจ คุณๆ กันดูนะ…..

 

บันทึกช่วยจำ : ขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  (องค์การมหาชน) และศูนย์วิจัย อนาคตศึกษา  ฟิวเจอร์เทลส์แล็บ ที่จัดทำงานวิจัยชิ้นนี้ออกมา ให้เราได้ เตรียมพร้อม สู่อนาคต

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง