งาน ใน อนาคต @ขอนแก่น (ซีรีย์ ตอน 2-6 )

งาน ใน อนาคต @ขอนแก่น  (ซีรีย์ ตอน 2-6 )

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

สถิติ สามารถนำมาประมวลผล และพยากรณ์ สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในระหว่างทาง อาจมีเหตุไม่คาดฝัน เกิดขึ้นได้ เช่นกัน  เราจึงเรียกว่า การบริหารความเสี่ยง

การคาดเดา หรือ พยากรณ์ล่วงหน้า ย่อมมีประโยชน์ในการวางแผน เพื่อบริหารจัดการเรื่องได้อย่างมีแบบแผน โดยควรมีแผนเผชิญเหตุ อยู่เคียงข้าง และพร้อมที่จะหยิบออกมาใช้งาน ทุกนาที ด้วยสติที่มั่งคง ที่จะเตรียมรับมือ อย่าง พร้อมพรั่ก…

ในการทำงานทุกชิ้น การวางแผน ย่อมเป็นเรื่องดี เรามีประสบการณ์เรื่อง โควิด-19 กันมาแล้ว ดังนั้น หากเราจะใช้มาเป็นบทเรียนในการเรียนรู้ โลกใบเก่า ที่ไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป ย่อมเป็นเรื่องดี ใช่ไหม

จากนี้ไป ขอเล่าสู่กันฟัง แบบเป็น ซีรี่ย์ ขนาด 6 ตอน ดูซิว่า พวกเรากำลังจะเดินทางบนถนนสายเดียวกัน และจะช่วยส่องทาง พยากรณ์ กันไว้อย่างไร

ตอนที่ 2อนาคตการทำงาน

ปัจจุบัน มีแรงงานราว 38 ล้านคน มีงานทำ 37.4 ล้านคน จึงมีคนตกงาน ราว 4 แสนคน  เป็นแรงงาน อยู่ในภาคบริการมากสุด คือ 17.5 ล้านคน รองลงมา คือ ภาคการเกษตร 11.28 ล้านคน และ ภาคการผลิต  8.55 ล้านคน

คนที่มีงานทำ จะทำงานหนัก กว่า 80 % ทำงานมากกว่า 35 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ และพวกเขาเหล่านั้น ราว 58.62 % มีความสุขในการทำงาน

สัญญาณ แห่งการเปลี่ยนแปลง คือ การมี “หุ่นยนต์” มาช่วยทำงานประเภทที่ต้องทำแบบเดิม ซ้ำๆ คนทำงาน จึงเริ่ม ตามใจตัวเอง

พวกเขาจะเกษียณตัวเองเร็วขึ้น  ต้องการเวลามากกว่าเงินตรา รู้ดีว่าต้องมีการฝึกฝนทักษะ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ทำงานแบบรู้จริง จึงไม่ต้องมีใบปริญญาบัตรเป็นใบเบิกทางอีกต่อไป

สังคม จะหมุนตัว เข้าสู่ GIG   Economy อันหมายถึง  แรงงาน นิยม งานประเภท พาสไทม์ งานชั่วคราว  ไม่ต้องผูกพันกันด้วยระยะเวลานาน  ดังนั้น คำว่า Life Time Employee จึงอาจล่มสลาย

พวกเขา จะชอบงานเชิงเดี่ยว หมายถึง ออกแบบและลงมือทำได้ด้วยตัวเอง           มีจริยธรรม และพบว่า แรงงานมีทักษะต่ำ เราจึงควรยกระดับแรงงาน และทำงานที่รัก-ถนัด ดีสุด….

 

บันทึกช่วยจำ : ขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  (องค์การมหาชน) และศูนย์วิจัย อนาคตศึกษา  ฟิวเจอร์เทลส์แล็บ ที่จัดทำงานวิจัยชิ้นนี้ออกมา ให้เราได้ เตรียมพร้อม สู่อนาคต

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง