CSR มายังไง ทำแบบไหน @ขอนแก่น

CSR มายังไง ทำแบบไหน @ ขอนแก่น

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

ธุรกิจ สังคม ชุมชน แยกกันไม่ออก จึงต้องมีการอยู่ร่วมกัน แบบถ้อยที ถ้อยอาศัย หย่อนทางใด ทางหนึ่ง ฝ่ายนั้น เป็น “ผู้ร้าย” ทันที เลยนะ..จริงไหม….

CSR เป็นคำฝรั่ง  ย่อมาจาก คำว่า Corporate Social Responsibility   เป็นความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม  โดยมี แนวคิดที่ว่าภาคธุรกิจ ควรแสดงความรับผิดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทโดยสมัครใจ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 8 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้ถือหุ้น พนักงาน คู่ค้า ชุมชน รัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม

เทียบเคียงกับภาคของสังคมไทย ง่าย สั้น น่าจะ เป็น คำว่า “จิตอาสา” ผิดกันแต่ว่า เป็นภาคธุรกิจ ที่นับจากนี้ไป ไม่ใช้ กำไรสูงสุดเป็นที่ตั้ง ควรแบ่งปัน ด้วยวิถีเป็น “คนดี” ของสังคม จึงจะยั่งยืน

หากป็น บุคคลธรรมดา อย่างเราๆ ลุกขึ้น อยากจะทำงาน แบบ “จิตอาสา”  ก็ไม่ยาก พาตัวเองไปสมัคร เสนอตัวในการ “ลงแรง” ทำงานนั้น ได้ทันที อยากจะช่วยเก็บขยะ ขุดลอกคลอง  และอื่นๆ

แต่หากเป็น บริษัท จำเป็นต้องมีการวางแผน วางงบประมาณ ยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องคิดมาก เพราะมีผู้เกี่ยวข้อง ก็มากขึ้น เป็นเงาตามตัว ด้วยนะ

ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่หาก เป็นการทำเพื่อชุมชน สังคม แม้เรียกต่างกัน แต่จุดประสงค์เดียวกัน คือ ทำให้คนรอบข้าง ชุมชน และสังคมชาวโลก คือ คำว่า “จิตอาสา” และ “CSR”

ตามธรรมเนียมแนวปฏิบัติ เรามักจะพบว่า  บริษัทใหญ่ จะมีการตั้งงบประมาณไว้ ราวสัก 5 % ของกำไรสุทธิ หรือ อาจเป็นฐานคำนวนอื่น ในการนำเงินก้อนนั้นมาทำกิจกรรม  CSR

เคยมีเหตุการณ์ จริง เล่ากันต่อๆ มา ว่า พลังของงาน CSR ช่วยสร้างอารมณ์บวก กับสินค้า/บริษัทนั้นๆ เมื่อมีวิกฤติ กลุ่มคนเหล่านี้และ จะทำหน้าที่ปกป้ององค์กร หรือ คนๆนั้นได้แบบ ไม่ต้องเอ่ยปาก

กิจกรรม CSR เขาทำอะไรกันบ้างล่ะ….

ยกตัวอย่าง บริษัทใหญ่ ๆ ที่เขาทำกิจกรรม CSR อาทิ ประเด็นทางสังคม เพื่อแก้ปัญหาสังคม,เพื่อการกุศล เพื่อช่วยเหลือชุมชน ,เพื่อรับผิดชอบต่อสังคม

นับเป็น สมดุล ของมุมบวก ของสังคม ที่ไม่อาจมองข้าม ได้ การแบ่งปัน การเพิ่มค่า การเป็นคนดี ของสังคม ย่อมเป็น อาวุธทางปัญญา ที่ช่วย เติมสมการ “การให้” และ สมการ “การรับ” ให้สมดุล โดย สภาพธรรมชาติ ไม่สร้างภาพ และเป็นภาพพจน์ดี เป็น “คนดี” ของสังคม ที่มีเสียงขอบคุณ อยู่รอบตัว….

คุณล่ะ…คิดว่า ตัวเอง ได้ลงมือทำ”จิตอาสา” เรื่องใดบ้าง  หรือ อยากอุดหนุน กิจการ ที่มี  CSR ด้วย ใช่ไหม …..

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง