ม.ภาคฯเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย ประจำปี 2565

ม.ภาคฯเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7 จับมือร่วมมหาวิทยาลัยไทย-ต่างประเทศ จัดประชุมร่วมแบบออนไลน์ ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านจากภาวะปกติใหม่

ผศ.ดร.กนกอร บุญมี อธิการดีรมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7ภายใต้หัวข้อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมยุค Next Normal : การเปลี่ยนผ่านจากภาวะปกติใหม่ The 9th National and the 7th International Conference on Research and Innovation Development for the Next Normal Society: Transition from the New Normal โดยใช้รูปแบบการนำเสนอผลงานแบบออนไลน์ ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตรกรรม รวมไปถึงคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศได้มาร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมนำเสนอผลงาน ผ่านการประชุมแบบออนไลน์ตามรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤติโควิด-19 สะท้อนให้เห็นเทรนด์สำคัญ ๆ ในอนาคตที่เกิดจากพฤติกรรมและทัศนคติในการดำรงชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยี บริการดิจิทัลใหม่ ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย โดยมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำไปสู่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ next normal ที่จะเริ่มขยายตัวในวงกว้าง พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและระบบเศรษฐกิจในอนาคต

“มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ร่วมมือกับสถาบันเจ้าภาพร่วม ให้มีการจัดประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ประสบการณ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการ จึงจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ เพื่อช่วยให้ผลงานวิจัยทั้งหลายนี้เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการพัฒนาโลกของเรา และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของโลกให้เจริญก้าวหน้าหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ได้เริ่มคลี่คลายลงแล้ว ซึ่งรูปแบบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยทางออนไลน์แบบโลกเสมือนจริง เป็นการเพิ่มพูนคุณภาพงานวิจัยและเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ประสบการณ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการร่วมกัน มุ่งสู่การสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัยและนวัตกรรมสู่สังคมยุคใหม่ Next Normal โดยลักษณะของงานวิจัยที่นำเสนอ แยกเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ที่สนใจทั้งในและต่างประเทศ, ผลงานวิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ระดับปริญญาโท – ปริญญาเอก ของนักศึกษาระดับและบัณฑิตศึกษาสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ”

ผศ.ดร.กนกอร กล่าวต่ออีกว่า ขณะเดียวกันยังคงมีการแบ่งกลุ่ม งานวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ ทั้งระดับชาติ และนานาชาติ ได้แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ด้านการศึกษา (ED) เช่น การบริหารการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา,ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (HS) เช่น พยาบาลศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์เภสัชศาสตร์ และเทคนิคการแพทย์,ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST) เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี, ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HSS) เช่น นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์ และนิเทศศาสตร์,ด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (BE) เช่น บริหารธุรกิจ การจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม และเศรษฐศาสตร์และ ด้านเกษตรกรรมและการประมง (AF) โดมีสถาบันเจ้าภาพร่วมจัดประชุมฯ จำนวน 39 สถาบันทั้งในและต่างประเทศ และมีผู้ส่งบทความที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 109 บทความ

 

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง