รพ.มัญจาคีรี เตรียมปิดอาคารผู้ป่วยใน เพื่อใช้เป็นอาคารักษาผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ (มีคลิป)

1

หมอขอนแก่น พร้อมรับการบูสเตอร์วัคซีน หลังรัฐพิจารณาจัดสรรเป็นกลุ่มแรก ย้ำชัดไม่ได้กลัวตาย แต่ทุกคนต้องทำงานอย่างหนัก ขณะที่ รพ.มัญจาคีรี เตรียมปิดอาคารผู้ป่วยใน เพื่อใช้เป็นอาคารักษาผู้ป่วยโควิดโดยเฉพาะ รับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

        เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 12 ก.ค.2564 ที่ศูนย์บริการวัคซีน รพ.มัญจาคีรี อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น มีประชาชนที่ได้รับการยืนยันเข้ารับการฉีดวัคซีน จาก รพ.มัญจาคีรี ทยอยเดินทางเข้ารับการฉีดวัคซีน ที่ รพ.กันอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด โดยมี นพ.พรพล เหล่าวิทวัส ผอ.รพ.มัญจาคีรี คอยกำกับควบคุมและให้คำแนะนำกับผู้ที่มาเข้ารับการฉีดวัคซีนตลอดทั้งวันในวันนี้

        นพ.พรพล เหล่าวิทวัส ผอ.รพ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กล่าวว่า การให้บริการวัคซียที่ รพ.มัญจาคีรี ในวันนี้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ที่ 500 คน ตามการจัดสรรวัคซีนที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ จ.ขอนแก่น กำหนด ซึ่งภาพรวมของการฉีดวัคซีนในพื้นที่ อ.มัญจาคีรี นั้นได้กำหนดเป้าหมายไว้ที่ 44,000 คน ซึ่งได้ทำการทยอยฉีดวัคซีนมาตั้งแต่วันที่ 22 เม.ย.ตามการจัดสรร โดยขณะนี้ชาว อ.มัญจาคีรี มีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 1,829 เข็ม คิดเป็นร้อยละ 3.14 ของจำนวนประชากรในกลุ่มเป้าหมาย โดยในจำนวนนี้แยกเป็นเข็มแรก 1,381 เข็ม และครบแล้วทั้ง 2 เข็ม 438 เข็ม โดยมีผู้ที่ได้รับผลอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น 5 ราย อย่างไรก็ตามกลุ่มเป้าหมายหลักที่สำคัญคือกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค ซึง รพ.จะทยอยฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าตามการจัดสรรวัคซีนให้ได้อย่างครอบคลุมตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

        “ยอมรับว่าขณะนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 หรือบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางกลับมาจาก พื้นที่จังหวัดสีแดง ประสานงานมาที่ รพมัญจาคีรี เพื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจคัดกรองหรือการกักตัว ตามระบบสาธารณสุขวันละ 4-5 ราย ขณะที่เตียงรักษาผู้ป่วยโควิดเดิม รพ.กำหนดไว้ที่ 4 เตียง จะมีการปรับขึ้นเป็น 14 เตียงในวันนี้ และในระยะต่อไปคือการพิจารณาปิดอาคารผู้ป่วยผู้ป่วยในทั้งหมด เพื่อปรับเป็นอาคารรักษาผู้ป่วยเฉพาะโควิด ซึ่งจะสามารถรองรับผู้ป่วยโควิดได้ 24 เตียง ตามการประเมินสถานการณ์และการบริหารจัดการผู้ป่วยในภาพรวม อย่างไรก็ดีได้มีการประสานงานร่วมกับทางอำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งจุดกักตัวและจุดตรวจคัดกรองด่านแรก โดยกำหนดพื้นที่ในระดับตำบล 8 จุดและพื้นที่ส่วนกลาง 1 จุด โดยทุกคนที่จะเดินทางเข้ามาในพื้นที่ที่มาจากพื้นที่จังหวัดสีแดง หรือผู้ป่วยที่ต้อการเดินทางกลับมารักษาตัวที่บ้าน ขอให้ประสานงานมาที่ รพ.มัญจาคีรี ที่หมายเลขโทรศัพท์ 080-0642768 ก่อนที่จะเดินทางเพื่อที่จะสามารถจัดระบบการรับและส่งผู้ป่วยในระบบของกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว ห้ามเดินทางมาเพียงลำพังหรือลักลอบเดินทางมาที่ รพ.เด็ดขาด เนื่องจากจะส่งผลต่อการแพร่รกระจายของเชื้อ”

        ผอ.รพ.มัญจาคีรี กล่าวต่ออีกว่า การพิจารณาจัดสรรวัคซีนบูสเตอร์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งรัฐบาลและ ศบค.ได้พิจารณาจัดสรรให้นั้นเป็นเรื่องที่ดีที่บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนจะมีขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติหน้าที่ เนื่องจากปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนนั้นไม่ได้ทำงานเฉพาะแต่เรื่องโควิดเพียงอย่างเดียวแต่ทุกคนทำงานด้านระบบสาธารณสุขในด้านต่างๆอย่างครบถ้วนและทำงานกันอย่างหนักทุกวัน โดยเฉพาะกับการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ทุกคนล้วนต่างไม่อยากให้มีใครเกิดขึ้น ดังนั้นการจัดสรรวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์รวมกว่า 700,000 คน นั้นหากได้รับวัคซีนก็ขอให้ทำทันที

        “ทุกคนไม่ได้กลัวตาย ทุกคนทำงานเต็มที่ และทำสุดความสามารถกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ดังนั้นหากวัคซีนจัดสรรมาจริง ยี่ห้อใดก็ได้ หรือจะเป็นไฟเซอร์ ตามที่มีการพูดคุยกันก็จะเป็นเรื่องที่ดีที่ทุกคนจะมีภูมิคุ้มกัน มีหลักประกันในการทำงานที่จะทำหน้าที่ ซึ่งหากนับรวมระยะเวลาของการที่บุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็มแล้วนั้นก็สามารถที่จะได้รับการบูสวัคซีนอีกรอบได้ทันทีตามระยะเวลาของการจัดสรรวัคซีนตามที่รัฐบาลกำหนด”

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง