รางวัลแห่งชีวิต-ครูยุวกาชาด @ขอนแก่น

รางวัลแห่งชีวิต-ครูยุวกาชาด @ขอนแก่น

คอลัมน์ “รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
        

       อาชีพครู เปรียบกันว่า เป็น  “เรือจ้าง”  คือ แจวรับ-ส่ง นักเรียน ข้ามฟาก ทางการศึกษา ส่งลูกศิษย์ถึงฝั่ง คนแล้วคนเล่า….

       โลกที่เปลี่ยนไป “ครู” จึงอาจต้องทำหน้าที่ ไม่เหมือนเดิม  แต่ จิตวิญญาณ ดวงเดิม การเติมกำลังใจ กับคนทำงาน จึงเป็นประหนึ่ง น้ำทิพย์หยดเล็กๆ ที่ราดรด ลงใจครู ให้ ชุ่มชื่น  แม้สายตาสังคม อาจมองครู ด้วยเลนส์ ที่เพี้ยนไปจากเดิม ก็ตามที

       คุณครูวารุณี  ถาวรรัตน์ วัย 50 ปี ครูวิทยะฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเขาสวนกวางวิทยานุกูล อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น ครูผู้สอนยุวกาชาดดีเด่น ประจำปี  2564   รับโล่พระราชทาน “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”  องค์อุปนายิกา สภากาชาดไทย

       รางวัลนี้ ย่อมไม่ธรรมดา เพราะ เป็นงานพิเศษ นอกเหนือจาก หน้าที่ ครู ที่ต้องสอนตามหลักสูตร ของต้นสังกัด เท่ากับว่า คุณครู ต้องทำงานหนักขึ้น มากขึ้น กว่าเดิม

หลักสูตร  ยุวกาชาด  คือ อะไร ? มีวัตถุประสงค์ใดกัน ?

       ย้อน ประวัติศาสตร์การก่อตั้ง สภากาชาดไทย ในปี 2435 จากนั้น อีก 30 ปี ต่อมา คือ ปี 2465 จึงมี “ยุวกาชาด“  อันหมายถึง  “กาชาดสำหรับเด็ก”

       วันที่ 27 มกราคม 2465  กำเนิดยุวกาชาด โดย “สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์พินิต” เป็นการฝากหลักสูตรไ ว้กับ กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมา มอบให้กรมพลศึกษา ดูแล

       ปัจจุบัน หลักสูตร  ยุวกาชาด  สภากาชาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบดูแล เรื่องงบประมาณ  ค่าใช้จ่าย ส่วนการ กำกับดูแลหลักสูตรภาคปฏิบัติ หน่วยงานที่ลงมือ คือ  กระทรวงศึกษาธิการ

       หลักสูตร “ยุวกาชาด”   มุ่งให้ เด็กๆ เยาวชน วัย 15-25 ปี ทั้งชาย-หญิง  เรียนรู้ เรื่อง การกินดี อยู่ดี รักษาสุขภาพอนามัย เมตตาสงสาร เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

       คุณครูวารุณี ฯ เล่าว่า เธอ  สอนหนังสือ มาแล้ว 16 ปี และมาสอน ในหลักสูตรยุวกาชาด เมื่อ 5 ปี ก่อน เป็นความสมัครใจ ต้องเข้าไป อบรม ที่ส่วนกลาง ทำความเข้าใจก่อน แรกๆ ก็ไม่ค่อยรู้จัก พอสอนเด็กๆ และเป็นวิวัฒนาการทางความคิดและพฤติกรรมของพวกเขา ที่เปลี่ยนไป ก็ชื่นใจ บอกกับตัวเองว่า เหนื่อยก็ยอม เพราะ อย่างน้อยๆ เด็กๆ ของเรา จะได้ปลูกฝัง เรื่องราวดีๆ นำกลับไปใช้ ที่บ้าน-ชีวิตประจำวันได้

       รางวัล นี้ จึงเป็น รางวัลแห่งชีวิต ของเธอ ….หนึ่งเดียวในจังหวัดขอนแก่น  ที่ปลาบปลื้ม สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่สุดมิได้ ในชีวิตครูบ้านๆ อย่างเธอ……

บันทึกช่วยจำ : ยุวกาชาด สภากาชาดไทย 2465-2565  : อายุ 100  ปี  

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง