พช.ขอนแก่น เดินหน้าพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสู้ภัยโควิด-19 “โคก หนอง นา โมเดล” (มีคลิป)

received_973660660060577

พช.ขอนแก่น เดินหน้าพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสู้ภัยโควิด-19 “โคก หนอง นา โมเดล” ครอบคลุมพื้นที่ทุกตำบล เร่งสร้างคลังอาหารในระดับชุมชนอย่างยั่งยืน

        เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 27 มิ.ย.2564 ที่ บ.โนนเขวา ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น นายณัฐภัทร พลอยสุภา นายอำเภอมัญจาคีรี พร้อมด้วย นางเอกหทัย พนมอุปถัมภ์ พัฒนาการอำเภอมัญจาคีรี นำชาวชุมชนในเขต ต.สวนหม่อน ร่วมจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี เอาแฮง สร้างแปลง โคก หนอง นา พช. ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชน อ.มัญจาคีรี ได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้นในการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสู้ภัยโควิด-19 โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างพร้อมเพรียง

        นายณัฐภัทร พลอยสุภา นายอำเภอมัญจาคีรี จ.ขอนแก่น กล่าวว่า พื้นที่โคกหนองนาโมเดล ในพื้นที่ของนายนิยม เนตรซิว บ้านโนนเขวา ม.6 เป็นพื้นที่ต้นแบบสู้ภัยโควิด-19 พื้นที่่ล่าสุดที่คณะทำงานร่วมทุกฝ่ายได้ดำเนินการจัดทำขึ้น ตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ผ่านกิจกรรมการพัฒนาและสนับสนุนพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบคุณภาพชีวิต ระดับครัวเรือน จำนวน 11 ครัวเรือน ในการแลกเปลี่ยนความรู้ แรงงาน โดยครัวเรือนต้นแบบจะนำ พันธ์ไม้ พืชผักสวนครัว ที่ตัวเองมี มาร่วมกันปลูกในพื้นที่ที่ บ.โนนเขวา ซึ่งการดำเนินงานในลักษณธดังกล่าวเช่นนี้จะนี้หมุนเวียนไปในแปลงอื่นๆทั้ง 11 ครัวเรือนในพื้นที่ ของ อ.มัญจาคีรี ต่อไป

        “ปัจจุบัน พื้นที่ต้นแบบสู้ภัยโควิด ในรูปแบบของโคกหนองนาโมเดล นั้น ได้ดำเนินการครอบคลุมพืนที่ครัวเรือนต้นแบบ 11 ครัวเรือน ทำให้ในขณะนี้ธนาคารอาคารหรือ Food Bank ของทางอำเภอนั้นมีแล้วถึง 11พื้นที่ ซึ่งทุกพื้นที่จะต้องดำเนินการ 5 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย ฐานปลูกป่า , ฐานห่มดิน , ฐานปลูกหญ้าแฝก , ฐานปล่อยปลา และฐานทำอีเอ็มบอล หรือจุลินทรีย์ก้อน รวมทั้งการเป็นแหล่งเรียนรู้ประโยชน์ของ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ส่งเสริมการเรียนรู้ การปรับปรุงรูปแบบแปลงดิน ให้เอื้อต่อการใช้งาน ด้วยการนำศาสตร์ พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆอย่างครบถ้วน”

        ขณะที่ นางเอกหทัย พนมอุปถัมภ์ พัฒนาการอำเภอมัญจาคีรี กล่าวว่า การร่วมกันเอามื้อสามัคคี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ เพิ่มขีดความสามารถของผู้นำชุมชนในการพัฒนาจนสามารถเป็นแกนหลักในการบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักทฤษฎีใหม่จนนำไปสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างเครือข่าย และขยายผลสู่หมู่บ้านชุมชน ที่ยั่งยืนต่อไป

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง