กฐิน ที่วัดไชยศรี@ขอนแก่น

กฐิน ที่วัดไชยศรี@ขอนแก่น

คอลัมน์ “ รู้จริง ถิ่นเฮา
โดย “น้องดอกคูน”
….เรื่องเล่า อ่านสนุก ซอกมุมของบรรพบุรุษ และมองออกไปเบื้องหน้า ในบริบทของ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เมื่อทุกเรื่องม้วนร้อย เป็นมิติเดียวกัน เหลืองสะพรั่งของดอกคูณ และ เสียงแคน แล่นแต้ มาแล้ว………….
     

         ชาวพุทธคุ้นเคยกับงาน “ทอดกฐิน“  จัดว่าเป็นงานบุญ งานรื่นเริง “วัด“  เป็นศูนย์รวม ของชุมชน จึงเป็นการทำนุ บำรุง พุทธศาสนา ยาวนานมากกว่าสองพันห้าร้อยปี

         “ทอดกฐิน“  มีประวัติความเป็นมา เมื่อครั้งพุทธกาล พระภิกษุ รับผ้ากฐินได้หลังออกพรรษา  แต่ละวัดจะรับงาน “ทอดกฐิน“  ได้ 1 ครั้ง ต่อปี  (ห้วงของการรับกฐิน คือ ภายใน 30 วัน หลังวันออกพรรษา)  ดังนั้น จึงมี คำเปรียบเปรยว่า “จองกฐิน“

         “กฐินหลวง“ เป็นกฐินพระราชทาน นำไปทอด ที่พระอารามหลวง

         “กฐินต้น“  เป็นกฐินพระราชทาน นำไปทอด ที่วัดราษฏร์

         “กฐินราษฏร์“ เป็นกฐินที่ประชาชน นำไปทอดยังวัดต่างๆ

         ปี 2564 วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ดังนั้นห้วงเวลาของงานทอดกฐิน คือ ตั้งแต่ 22 ตค.ไปจนถึง วันที่ 19 พศจิกายน เราจึงเห็นข่าว คณะชาวพุทธ รวมตัวกันทำบุญ ด้วยจิตศรัทธา นำกฐินไปทอด ในวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งได้จองกฐินกันไว้แล้ว และยังอาจมีการทำบุญ เป็นกฐินเก็บตก สำหรับบางวัดที่อาจยังไม่มีชาวพุทธ คณะใด นำกฐินมาทอด

         ปี 2564 วัดไชยศรี  ได้รับการแจ้งจองกฐิน จาก บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน มีพิธีทอดกฐิน โดยมีเงินจากพลังศรัทธา ทั้งจากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ รวมกัน จำนวน 1,538,528./บาท  สาธุ…กันทั่วหน้า……..

         เป็นที่รู้กันว่า “ ไทยเบฟ “ เป็นบริษัทใหญ่ เหตุใด จึงมาเลือก “วัดไชยศรี“ ของบ้านเฮา พบว่า เป็นการเลือกมา จองกฐิน ที่จังหวัดขอนแก่น-บ้านเฮา  ในรอบกว่า 10 ปี เพราะเขาจะเวียนไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ปีละ ประมาณ 4 วัด

         อยากรู้ล่ะซิ…ว่า ทำไม เขาเลือกวัดนี้ พลิก ไปดูประวัติศาสตร์ ไม่ธรรมดา จริงๆด้วย เรามาทำความรู้จัก/ทบทวน ศิลปะ มรดกวัฒนธรรม อันล้ำค่า  ของบ้านเฮา แบบฉบับย่อ กันนะ…

……………………………………………………………………………………………………………..

         “วัดไชยศรี“ ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.2408  หรือ เมื่อ 156 ปี ก่อน  มีเนื้อที่ ราว 10  ไร่  มี ภาพเขียน หรือ  “ฮูบแต้ม ที่กลายเป็นจุดเด่น ด้านงานศิลปะ วัฒนธรรม รอบโบสถ์ทั้ง ภายในและภายนอก

         “ฮูบแต้ม “ เป็นภาพเขียน ที่เล่าเรื่องราว ความกตัญญู ความกล้าหาญ ความเสียสละ ของสินไซโพธิสัตว์ ในชาติภพต่างๆ

         ตัวละครเอก ชื่อ สินไซ-สินโห-สังข์  ออกเดินทางผจญภัย  ในดินแดนต่างๆ เล่าเรื่องด้วยภาพ เป็นนิทานพื้นบ้าน ประเภทชาดกนอกนิบาต- – หมายถึง ไม่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฏก

         เรื่องเล่า จากผนังโบสถ์ เป็นที่รู้จัก และมีการบันทึก ด้วยหลายภาษา เป็นที่รู้จักของนักท่อง เที่ยว อาทิ ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอิตาลี

         งาน “ทอดกฐิน“   เป็นงานรื่นเริง ของชุมชน จึงมักมีมหรสพ มีการแสดง อาทิ หมอลำ หมอแคน มาสร้างความสนุกสนาน ให้ กับผู้ที่ร่วมงานบุญ

         ฤดูกาล หน้ากฐิน กำลังจะหมดลง ตามกรอบเวลาหลังออกพรรษา 1 เดือน เชื่อว่า… กุศล ที่อธิฐานจิตกันไว้นั้น จะส่งผล ดั่งใจหมาย กันทุกผู้ ทุกนาม ปีหน้าฟ้าใหม่ มาร่วมบุญงานกฐินกันได้ใหม่ เด้อ…..

………………………………………………………………………………

การแสดง นิทานพื้นบ้าน “สินไซ” ของ เยาวชน พวกเขา ทำได้ดี บนความตั้งใจ ที่ควรส่งเสริม ยิ่งนัก
การแสดง นิทานพื้นบ้าน “สินไซ” ของ เยาวชน พวกเขา ทำได้ดี บนความตั้งใจ ที่ควรส่งเสริม ยิ่งนัก

 

นิทาน พื้นบ้าน “สินไซ” ถูกนำไป ตีพิมพ์อีก 2 ภาษา อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมัน
นิทาน พื้นบ้าน “สินไซ” ถูกนำไป ตีพิมพ์อีก 2 ภาษา อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมัน

 

“หมอลำ” ศิลปะอิสาน ที่ควรรักษาไว้  ความบันเทิง แบบบ้านๆ เทียบเคียง ลิเก และ ลำตัด ของภาคกลาง
“หมอลำ” ศิลปะอิสาน ที่ควรรักษาไว้ ความบันเทิง แบบบ้านๆ เทียบเคียง ลิเก และ ลำตัด ของภาคกลาง

 

 “ไทยเบฟ” เลือก มาทอดกฐิน ที่วัดไชยศรี เพราะ มี “ฮูปแต้ม”
“ไทยเบฟ” เลือก มาทอดกฐิน ที่วัดไชยศรี เพราะ มี “ฮูปแต้ม”

 

พบว่า เสาทุกต้น จะมีต้นกล้วยพร้อม เครือกล้วยงามๆ  บนความเชื่อและศรัทธา ว่า ทุกอย่าง จะ กล้วยๆ
พบว่า เสาทุกต้น จะมีต้นกล้วยพร้อม เครือกล้วยงามๆ บนความเชื่อและศรัทธา ว่า ทุกอย่าง จะ กล้วยๆ
Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง