ขอนแก่นหวั่นคนเครียดและฆ่าตัวตายเยอะขึ้น เปิดปฎิบัติการ วัดใจไปกับ 3 หมอ

ขอนแก่นหวั่นคนเครียดและฆ่าตัวตายเยอะขึ้น เปิดปฎิบัติการ วัดใจไปกับ 3 หมอ ให้บริการคลายเครียดวิถีใหม่แบบนิวนอร์มอล ในสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี 2564

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 2 พ.ย.2564 ที่ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแกนราชนครินทร์ นายจารึก เหล่าประเสริฐ รอง ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย นพ.ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ นายแพทย์สาธารณสุข จ.ขอนแก่น, นพ.ณัฎกร จำปาทอง ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ นำผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและสื่อมวลชน ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์สุขภาพจิตไทย วัดใจไปด้วยกัน เนื่องในสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติประจำปี 2564 ซึ่ง รพ.จิตเวชฯ ร่วมกับศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้กำหนดจัดกิจกรมขึ้น โดยมีแพทย์ พยาบาล รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมกันย่างพร้อมเพรียง

นพ.ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ นพ.สสจ.ขอนแก่น กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตของประชาชนอย่างมาก ซึ่งจากการตรวจคัดกรองเชิงรุก ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา พบว่าประชากรที่เข้ารับการตรวจที่ รพ.จิตเวชฯทั้งประเทศ 1,780,338 คน จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเครียดสูงถึง ร้อยละ 10.77 กลุ่มเสี่ยงภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 12.67 และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 7.12 ซึ่งในจำนวนนี้ได้เข้ารับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเบื้องต้นผ่านเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ร้อยละ 86.63 ที่ดำเนินการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตแก่ประชาชนในพื้นที่ด้วยการบูรณาการผ่านกลไก 3 หมอในเรื่องของการดูแล ช่วยเหลือ ฟื้นฟูสุขภาพใจของประชาชนในระดับพื้นที่แบบใกล้บ้าน ใกล้ใจ

“รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายในการดำเนินงานโดยเน้นให้ประชาชาหมั่นสำรวจอาการทางกายของตนเอง โดยเมื่อสงสัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 แล้วให้เพิ่มเรื่องการวัดใจอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติปีนี้ จึงแสดงถึงพลังความร่มมือร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งในระดับจังหวัด,บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ผู้นำชุมชน และ อสม. ที่จะให้บริการด้านสาธารณสุขด้านภาวะสุขภาพจิต ผ่านระบบออนไลน์ แบบวิถีใหม่นิวนอร์มอล ที่จะเริ่มดำนเนิการกันตั้งแต่วันนี้”

ขณะที่ นพ.ณัฎกร จำปาทอง ผอ.รพ.จิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวว่า การวัดใจ จึงเป็นแนวทางการดำเนินงานที่ใช้สื่อสาร ตามแผนงานบูรณาการความร่วมมือและเผยแพร่ความรู้สำหรับการดูแลสุขภาพจิต โดยเฉพาะ อสม. หรือจิตอาสา ที่จะร่วมค้นหาผู้ที่มีความทุกข์ใจและให้การดูแลช่วยเหลือภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ด้วยมาตรการการสำรวจสุขภาพจิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจในบริบทของสุขภาพจิตคนไทยจนนำไปสู่การดูแลสุขภาพจิตของแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามกรมสุขภาพจิตได้จัดทำระบบการตรวจสอบตนเองผ่านเครื่องมือประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นที่เรียกว่า Mental Health Check-in ในการคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งในการประเมินจะประกอบด้วย ด้านภาวะความเครียด, ซึมเศร้า,ภาวะหมดไฟ, ภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย และแบบประเมินด้านพลังใจ ซึ่งจะทราบผลทันที ซึ่งระบบประเมินดังกล่าวยังคงมีคำแนะนำในการขอรับคำปรึกษา เทคนิคการคลายเครียดด้วยตนเอง หรือการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์แบบออนไลน์ได้โดยทันทีอีกด้วย

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง