ม.ภาคฯจัดใหญ่ ประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 นักวิชาการทั่วไทยร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการวิถีใหม่แบบนิวนอร์มอล คับคั่ง

1

      เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 29 พ.ค.2564 ผศ.ดร.กนกอร บุญมี ผู้ปฎิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 8 เรื่อง บูรณาการงานวิจัยและนวัตรกรรมสู่สังคมยุคนิวนอร์มอล (NEUNC2021) ซึ่งมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น ร่วมกับ สถาบันการศึกษา 23 แห่งทั่วประเทศได้กำหนดจัดการประชุมขึ้น โดยมีนักวิชาการ คณาจารย์ รวมไปถึงผู้ที่ชื่นชอบในผลงานทางวิชาการในด้านต่างๆเข้าร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ อย่างพร้อมเพรียง ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวด

      ผศ.ดร.กนกอร บุญมี ผู้ปฎิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า การประชุมฯครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 ที่มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกับสถาบันการศึกษาภายในประเทศ 23 สถาบันกำหนดจัดกิจกรรมขึ้น โดยใช้รูปแบบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ในการประชุมในรูปแบบของนิวนอร์มอล ในการที่จะเพิ่มพูนคุณภาพงานวิจัยทั้งยังคงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ประสบการณ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และนักวิชาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการผ่านการนำเสนอผลงานในเวทีที่มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดขึ้น

      “การประชุมผ่านระบบออนไลน์ และระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ครั้งนี้มีนักวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งสิ้น 135 บทความ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยจากการศึกษาค้นคว้าอิสระและผลงานวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ของนักศึกษาและนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน ซึ่งคณะทำงานได้จัดออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วยด้านการศึกษา ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการบริหารหารศึกษา, การพัฒนาหลักสูตรและการสอน, การวัดและการประเมินผลการศึกษาและนวัตรกรรมทางการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มุ่งเน้นในเรื่องของพยาบาลศาสตร์, สาธารณสุขศาสตร์ ,เภสัชศาสตร์ และเทคนิคการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มุ่งเน้นในเรื่องของวิทยาศาสตร์,วิศวกรรมศาสตร์, คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในด้านของนิติศาสตร์, ศิลปะศาสตร์, รัฐศาสตร์, รัฐประศาสนศาสตร์และนิเทศศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ที่มุ่งเน้นในเรื่องของบริหารธุรกิจ,การจัดการท่องเที่ยวและโรงแรมและเศรษฐศาสตร์ สุดท้ายคือด้านเกษตรและการประมง”

      ผศ.ดร.กนกอร กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องยอมรับว่าขณะนี้โลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากสถานการณ์การแพร่นระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทำให้การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบวิถีใหม่หรือนิวนอมอล ถูกนำมาเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะต้องปรับตัวครั้งใหญ่และสำคัญอย่างมาก ดังนั้นจากงานวิจัยที่ถูกนำเสนอต่อที่ประชุมวันนี้รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วทั้งประเทศผ่านระบบออนไลน์ ครั้งนี้จะเป็นการแสดงพลังในการที่ทุกฝ่ายและทุกคนนั้นจะได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำและร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เรียกว่าการวิจัยแบบเป็นระบบ ด้วยการนำผลงานวิจัยมาใช้ในการปฎิบัติจริงจนนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามนโยบายของรัฐบาลในภาพรวมต่อไป

 

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง