ถก!แผนรับมือน้ำหลาก น้ำท่วม ลุ่มน้ำชี-ลุ่มน้ำมูล (มีคลิป)

1

ชป.6 ถกแผนรับมือร่วม ชป.กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง-ตอนล่าง พร้อมรับน้ำหลากลุ่มน้ำชี-ลุ่มน้ำมูล รับหน้าฝน “ศักดิ์ศิริ” ย้ำชัดจัดการจราจรทางน้ำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง คาดปีนี้ฝนเยอะกำชับทุกพื้นที่วางแนวทางให้การช่วยเหลือประชาชนหากเกิดอุทกภัยอย่างรัดกุม

      ที่สำนักงานชลประทานที่ 6 จ.ขอนแก่น นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วม สำนักงานชลประทานที่ 6 รือ ชป.6 ร่วมกับ ชป.7 และ ชป.8 ตามมาตรการและแนวทางการบริหารจัดการน้ำและรับมือน้ำหลากฤดูฝนปีนี้ ผ่านระบบวีดีโอคอนเฟเรนท์ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำมีเพียงพอสำหรับใช้ในฤดูฝนนี้และเก็บกักน้ำไวใช้ในฤดูแล้ง รวมถึงเป็นการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ น้ำหลากในช่วงฤดูฝน ทั้งนี้สถานการณ์น้ำในพื้นที่รับผิดชอบของ ชป.6 ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย ชัยภูมิ , ขอนแก่น , มหาสารคาม , กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งสิ้น 1,109 แห่ง ความจุเก็บกักรวม 5,323 ล้าน ลบ.ม.

นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6
นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6

      “ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 1,779 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุเก็บกักรวมกัน จะเห็นได้ว่าพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบนและตอนกลาง ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีกกว่า 3,544 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 67 ของปริมาณความจุรวม ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนล่าง และลุ่มน้ำมูล ในความรับผิดชอบของ ชป. 7และ ชป.8 ปัจจุบันสถานการณ์น้ำภาพรวมมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ ยังมีพื้นที่ที่สามารถรองรับปริมาณน้ำในฤดูฝนนี้ได้อีกมาก”

      นายศักดิ์ศิริ กล่าวต่ออีกว่า การเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปีนี้นั้น ขณะนี้ได้ตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อนทั้งหมด 111 แห่งและอาคารชลประทาน 124 แห่ง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือจำนวน 257 รายการ และกระสอบทรายกว่า 12,000 ใบ ประจำ จุดเสี่ยง ที่จะต้องเข้าช่วยเหลือได้ทันที ขณะเดียวกันยังคงเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ในทุกพื้นที่เพื่อให้การจัดการจราจรทางน้ำนั้นเป็นไปตามแนวทางที่กำหรด ที่สำคัญได้นำเทคโนโลยีระบบการแจ้งเตือนภัยสถานการณ์น้ำ โดยเครือข่ายของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ(SWOC) ของ ชป.6 มาใช้ในการติดตามแผนการบริหารจัดการน้ำ การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน และการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเต็มศักยภาพ

 

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง