วัคซีนจุฬาฯ (ChulaCov-19) ตั้งเป้าฉีด เม.ย.65 ทั่วประเทศ เผยเทียบเท่า “ไฟเซอร์”

ตั้งเป้าฉีด-เม.ย.65-ทั่วประเทศ

ข่าวดี! จุฬาฯ เผยผลทดลองวัคซีน ChulaCov-19 ป้องกันโควิดได้ 94% เทียบเท่าPfizer ตั้งเป้าเมษายน 65 ได้ฉีดทั้งประเทศ

        16 สิงหาคม .นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นพ.นครเปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ .นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมแถลงผลทดสอบวัคซีน ChulaCov-19 ในอาสาสมัคร

        โดย .นพ.เกียรติ กล่าวว่า ผลเบื้องต้นในการทดลองฉีดวัคซีน ChulaCov-19 กับมนุษย์ระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมานั้นว่า เป็นการฉีดทดลองครบทั้งสองเข็มและเฝ้าติดตามอาการครบ 50 วันในอาสาสมัคร 36 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18-55 ปี ส่วนอาสามัครกลุ่มที่สองซึ่งมีอายุระหว่าง 56-75 ปีอีก 36 คน ส่วนใหญ่ได้ฉีดเข็มแรกไปแล้วและต้องใช้เวลาในการติดตามผลการทดลองนานขึ้น โดยวางแผนว่าในการทดลองขั้นต่อไปจะเริ่มทดลองฉีดในกลุ่มอาสาสมัครอีก 150 คน

        เรื่องความปลอดภัยและผลข้างเคียง จากอาสาสมัคร 36 คนแรกนั้นยังไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรงใดๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลข้างเคียงเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น อาการอ่อนเพลีย หนาวสั่นหรือมีไข้ ซึ่งจะดีขึ้นในระยะเวลาเฉลี่ย 1-3 วันหลังจากการฉีด และเทียบกับผลรายงานของวัคซีน Moderna และ Pfizer จะพบว่าวัคซีนทั้งสองก็ให้ผลข้างเคียงไม่ต่างกันมาก คือมีไข้และอาการหนาวสั่น อย่างไรก็ดี ย้ำว่าเป็นการวิจัยคนละงานกัน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันโดยตรงได้.นพ.เกียรติกล่าว

        นอกจากนี้ยังมีการตรวจผลภูมิคุ้มกันจากอาสาสมัครที่ฉีดวัคซีนไปว่า สามารถยับยั้งการจับโปรตีนที่ปุ่มหนามของไวรัสได้หรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ChulaCov-19 สามารถป้องกันไวรัสได้ถึง 94% ส่วนวัคซีน Pfizer ป้องกันได้ 94%, AstraZeneca 84% และSinovac 75% ตามลำดับ

        ทั้งนี้ ยังมีการเพาะเชื้อไวรัสแต่ละสายพันธุ์เพื่อดูว่าภูมิคุ้มกันในเลือดสามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้หรือไม่ โดยผลการทดสอบพบว่า ภูมิคุ้มกันของผู้ที่ฉีด ChulaCov-19 เข็มแรกไปหนึ่งสัปดาห์นั้นได้ภูมิใกล้เคียงกับวัคซีน Pfizer ขณะที่ผลการทดลองหลังฉีดครบสองเข็ม พบว่า ChulaCov-19 สามารถป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้ โดยสามารถป้องกันเชื้อดั้งเดิมได้มากที่สุด รองลงมาคือสายพันธุ์อัลฟา, เบตา และแกมมาตามลำดับ ส่วนสายพันธุ์เดลตาซึ่งเป็นสายพันธุ์ล่าสุดนั้นป้องกันได้ค่อนข้างดี ในภาพรวมแล้วสามารถป้องกันอาการของโรคได้กว่า 80%

        นอกจากนี้ วัคซีน ChulaCov-19 ยังสามารถไปกระตุ้นทีเซลล์ซึ่งเป็นภูมิระดับเซลล์ที่มีหน้าที่ไปขจัดเซลล์ติดเชื้อโควิดต่างๆ ได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ ทั้งหมดนี้จะช่วยขจัดและควบคุมเชื้อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้ โดยจุดเด่นของ ChulaCov-19 คือสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิตู้เย็นธรรมดาคือ 2-8 องศาเซลเซียสได้นานอย่างน้อย 3 เดือน และในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสนาน 14 วัน ฉะนั้นการขนส่งและการนำไปฉีดจริงจึงสบายใจขึ้นมาก

ขอขอบคุณ THE STANDARD https://www.facebook.com/1683658098593742/posts/2824730754486465/?d=n

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง