มข.-กฟผ. พลิกโฉมพลังงานไทย พัฒนาระบบกักเก็บพลังงานเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (มีคลิป)

        เมื่อเร็วๆนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามความร่วมมือทางวิชาการโครงการวิจัยและพัฒนา “Engywall” เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งดำเนินการลงนามผ่านระบบออนไลน์

        โดยโครงการวิจัยและพัฒนา “Engywall” เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะมีกรอบระยะเวลา 3 ปี โดยเป็นการนำองค์ความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ตลอดจนศักยภาพของบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน มาร่วมกันวิจัยและพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะดำเนินการนำแบตเตอรี่ที่พัฒนาและผลิตโดย มข. มาพัฒนาต่อเป็นระบบกักเก็บพลังงาน หรือ Battery Energy Storage System (BESS) โดยจะเรียกว่า Engywall ซึ่งเป็น BESS สำหรับใช้ในบ้าน และเพื่อให้ชุมชนนำไปใช้ให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงยั่งยืน

        รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มข. กล่าวว่า ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมดำเนินการพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของ Engywall โดยจะนำระบบแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไออนที่ผลิตจากโรงงานต้นแบบของ มข. ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไออนแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลของ IEC โดยแบตเตอรี่ที่ผลิตได้จะใช้ขั้วแอโนดที่มีนาโนซิลิกอนผลิตจากแกลบเป็นส่วนประกอบ ส่งผลให้แบตเตอรี่สามารถกักเก็บพลังงานได้สูง ปลอดภัย และรองรับการอัดประจุไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว (Fast Charge) ไปประกอบกับอุปกรณ์ Inverter สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส (Single-phase Grid-connected Inverters) ของ กฟผ.

        ด้านดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. กล่าวว่า โครงการวิจัยและพัฒนา “Engywall” เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะมีกรอบระยะเวลา 3 ปี โดยเป็นการนำองค์ความรู้ ผลงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยี ตลอดจนศักยภาพของบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน มาร่วมกันวิจัยและพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมใหม่ขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะดำเนินการนำแบตเตอรี่ที่พัฒนาและผลิตโดย มข. มาพัฒนาต่อเป็นระบบกักเก็บพลังงาน หรือ Battery Energy Storage System (BESS) โดยจะเรียกว่า Engywall ซึ่งเป็น BESS สำหรับใช้ในบ้าน และเพื่อให้ชุมชนนำไปใช้ให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงยั่งยืน

Leave a Response

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง