ขอนแก่น เปิดตัวไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ของโลก "ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมี" หลังค้นพบเมื่อ30ปีก่อน (มีคลิป)   


13 กรกฎาคม 62 08:05:13

กรมทรัพยากรธรณี เปิดตัว "ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมี" หรือนักล่าแห่งเทือกเขาภูเวียง เป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก อายุ 130 ล้านปีในยุคครีเทเชียสตอนต้น ซึ่งถูกขุดค้นพบที่ภูเวียงมากว่า 30 ปีก่อน เพิ่งวิจัยเสร็จ ถือเป็นไดโนเสาร์ตัวที่ 10 ของไทย พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้สนใจอยากศึกษา

    เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 12 ก.ค. 2562 ที่อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี พร้อมด้วยนาย สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ร่วมกันเปิดตัว ไดโนเสาร์ "ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมี  (PHUWIANG VENATOR YAEMNIYOMI)" หรือนักล่าแห่งเทือกเขาภูเวียง ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ ตัวที่ 10 ของประเทศไทย และเป็นตัวที 5 ของจังหวัดขอนแก่น  เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดกลาง สกุลและชนิดใหม่ของโลก พบที่หลุมขุดที่ 9B อุทยานแห่งชาติภูเวียงดินแดนแห่งไดโนเสาร์ จ.ขอนแก่น มีลักษณะแตกต่างไปจากที่เคยค้นพบมา โดยมีการค้นพบกระดูกส่วนหลัง กระดูกสันหลังส่วนสะโพก กระดูกมือและเล็บ กระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่าเท้า และเท้า มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 5-6 เมตร อยู่ในกลุ่มเมกะแรพเตอรา และคาดว่ามีลักษณะทั่วไปคล้ายกับไดโนเสาร์ตัวอื่นๆในกลุ่มเมกะแรพเตอรา เช่น Fukuiraptor จากประเทศญี่ปุ่น คือมีขาหน้าและขาหลังที่ยาว บ่งบอกถึงการวิ่งเร็ว มีกรงเล็บใหญ่ กะโหลกเรียวกว่าที่พบในไดโนเสาร์กินเนื้อทั่วไป เนื่องจากมีกระดูกหลังส่วนสะโพกที่แบน ด้านล่างมีร่องเล็กๆอยู่ส่วนหน้าและด้านหลังของกระดูกเมื่อมองในมุมล่าง และกระดูก่าเท้าชิ้นที่สี่ เฉียงจากด้านนอกตอนต้นมายังด้านในตอนปลาย และมีขอบด้านหน้าที่ต่ำกว่ากระดูกฝ่าเท้าชิ้นที่สาม และต่ำกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นๆเท่าที่เคยมีการค้นพบมา และไดโนเสาร์ภูเวียงเวเนเตอร์ จัดอยู่ในวงศ์เมกะแรพเตอร่า ไดโนเสาร์กลุ่มนี้มีรายงานการค้นพบในยุคครีเทเซียสตอนต้นจากประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลียและประเทศไทย และยุคครีเทเซียสตอนปลายในทวีปอเมริกาใต้ บ่งบอกได้ว่า ไดโนเสาร์กลุ่มนี้อาจจะมีกำเนิดนทวีปเอเชีย ก่อนที่จะมีการขยาไปยังซีกโลกใต้


    นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า การผลักดันให้พื้นที่อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น ให้เป็นธรณีระดับโลก ของ UNESCO ว่า จังหวัดขอนแก่นมีความพร้อม ซึ่งในอีก 6 ปีข้างหน้าเชื่อว่าจะได้รับการรับรอง แต่ต้องมีการเตรียมการในเรื่องของการศึกษาวิจัย ที่จะต้องมีหลักฐานในเรื่องการศึกษาวิจัยมารองรับด้วย ชุมชนต้องพร้อม ทั้งยังต้องมีการส่งเสริมในด้านการศึกษาและการท่องเที่ยวในพื้นที่ว่าขณะนี้จังหวัดขอนแก่นได้ทำอะไรไปบ้าง แต่เท่าที่เห็นพบว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จะพยายามยกระดับให้มีมาตรฐานสามารถที่จะตอบคำถามของยูเนสโกได้ เพื่อผลักดันเป็นอุทยานธรณีระดับโลกต่อไป อยากจะให้เพิ่มเติมในเรื่องของภาษา เพื่อช่วยเสริมในด้านการท่องเที่ยวที่จะต้องมีการให้ความรู้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะยูเนสโกจะจะเน้นในการพัฒนาพื้นที่ และจะเน้นเรื่องการทำกิจกรรมซึ่งเราต้องมีให้ครบถ้วน เพราะถ้าสามารถยะระดับเป็นอุทยานธรณีระดับโลกจะเกิดประโยชน์อย่างมาก ประเทศไทยจะมีชื่อเสียงในเรืองของแหล่งท่องเที่ยวแหล่งที่ให้ความรู้และมีให้เรียนรู้ที่มีมาตรฐานระดับโลก เพราะเมือนักท่องเที่ยวระดับโลก จะมาเที่ยว เขาจะเปิดหาจากเว็บไซต์ ว่าสถานที่ไหนที่ท่องเที่ยวระดับโลกอันไหนที่เป็นจีโอพาร์ค จังหวัดขอนแก่นมีความพร้อมในด้านต่างๆเมื่อการประเมิน ก็จะมีชื่ออยู่ในธรณีระดับโลกได้ถูกขึ้นบัญชี ซึ่งทั่วโลกตอนนี้มีอยู่แค่ร้อยกว่าประเทศ คือที่ประเทศจีน ประเทศไทย มาเลเซียอินโดนีเซียและเวียดนาม ส่วนในประเทศไทยจะมีอยู่ที่จังหวัดสตูล

นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีนายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

    ทางด้าน นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า อุทยานธรณีขอนแก่น หรือ Khonkaen Geopark ประกอบด้วยพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียงคืออำเภอเวียงเก่าและอำเภอภูเวียง เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรธรณีอันทรงคุณค่าระดับโลก ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีอายุประมาณ 130 ล้านปี รูปทรงแปลกตามีทางเข้าออกเพียงทางเดียว ทั้งยังมีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ 5 สายพันธุ์ใหม่ของโลก พบฟอสซิลจระเข้สายพันธุ์ใหม่ของโลกและพบฟอสซิลสัตว์โบราณต่างๆมากมาย จังหวัดขอนแก่นจึงได้ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีระดับโลกจังหวัดขอนแก่นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 โดยแต่งตั้งนายก อบจ.ขอนแก่น เป็นผู้อำนวยการขอนแก่นจีโอปาร์ค พร้อมแต่งตั้งผู้เกี่ยวข้องเป็นคณะ ทำงาน 5 ด้าน ตามตัวชี้วัดการประเมินอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ประกอบด้วยด้านธรณีวิทยาและภูมิประเทศ ด้านแผนและการจัดการทรัพยากรธรณี ด้านการสื่อสารและการให้ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างยั่งยืน

    สำหรับชื่อ "ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ" (PHUWIANG VENATOR YAEMNIYOMI) หมายถึง ไดโนเสาร์นักล่าแห่งเทือกเขาภูเวียง ส่วนแย้มนิยมมิ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ คุณสุธรรม แย้มนิยม อดีตข้าราชการกรมทรัพยากรธรณี ผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อันนำมาสู่การศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ในประเทศไทยในเวลาต่อมา


9 ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ในไทย
    ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เคยมีการขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ในประเทศไทยแล้วกว่า 16 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก 9 ชนิด ได้แก่

  • ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus Sirindhornae)
  • กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus Khonkaennsis)
  • สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส (Siamotyrannus Isanensis)
  • สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus Suteethorni)
  • อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ (Isanosaurus Attavipachi)
  • ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ (Psittacosaurus Sattayaraki)
  • สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon Nimngami)
  • สิรินธรนา โคราชเอนซิส (Sirindhorna Khoratensis)
  • ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ (Ratchasimasaurus Suranareae)







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS