สธ.เตือน กินเนื้อหมูดิบ เสียงเสียชวิตจากเชื้อ ?โรคไข้หูดับ ? เชียงใหม่ตายแล้ว 2   


8 สิงหาคม 60 16:42:23

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 8 ส.ค. ที่ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นางวิภารัศมิ์ ทิพย์ปัญญา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเจ็บป่วยจากการกิน อาหารไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรคนับเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยที่สำคัญ โดยเฉพาะพฤติกรรมการกินอาการดิบ หรือกึ่งดิบเป็นเรื่องที่นำอันตรายใกล้ตัวที่สุด ทั้งจากเชื้อโรคพวกแบคทีเรียที่มองไม่เห็น และจากพยาธิที่อยู่ในเนื้อสัตว์  ทั้งนี้ พฤติกรรมการกินอาหารดิบๆ ยังพบได้ต่อเนื่อง การกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อสุกร โค หรือกระบือแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบดิบ ลาบแดง แหนมดิบ มีความเสี่ยงอันตรายมากโดยเฉพาะหมูหรือสุกรที่มีการฆ่าไม่ถูกต้องตามมาตรฐานไม่ได้รับการตรวจจากสัตวแพทย์ เพราะอาจพบพยาธิได้หลายชนิด  การกินเนื้อหมูที่มีตัวอ่อนพยาธิตัวนี้เข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง จากนั้นราว 1 สัปดาห์จะมีอาการไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากพยาธิกระจายไปตามอวัยวะต่างๆทำให้เสียชีวิตได้

นางวิภารัศมิ์ กล่าวต่อว่าสำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือโรคไข้หูดับ จ.เชียงใหม่ ในปี 2560 พบผู้ป่วยแล้วจำนวน 9 ราย และในจำนวนนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ส่วนที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือร้านหมูกะทะ หมูจุ่ม จิ้มจุ่ม ซึ่งร้านต่างๆ เหล่านี้ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เมื่อ 3 - 4 ปีก่อนหน้านี้ก็มีนักศึกษา ป.โท รายหนึ่งไปกินหมูกะทะ แต่ทานลักษณะที่ไม่สุกเต็มที่ ก็เจอกับเชื้อโรคนี้เข้าไป ทำให้สูญเสียการทรงตัวของร่างกายไประยะหนึ่ง ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ ถือว่าโชคดีที่อาการไม่หนักและไม่ถึงขั้นเสียชีวิต โดยสาเหตุบางส่วนก็อาจจะมาจากเรื่องของตะเกียบที่ใช้คีบเนื้อหมูดิบและนำไปวางไว้ แล้วก็ใช้ตะเกียบอันเดียวกันในการกิน ซึ่งก็มีการปนเปื้อนได้ จึงต้องระวังในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน สำหรับโรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือ"โรคไข้หูดับ" เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Suis เป็นเชื้อที่อยู่ในโพรงจมูกและต่อมน้ำลายของหมู เชื้อดังกล่าวพบในหมูทั่วไปจนกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น เมื่อหมูอยู่ในภาวะเครียด เช่น อยู่ในที่แออัด อากาศชื้นหรือหนาว จากฝนตกหนัก ภูมิคุ้มกันของหมูจะลดลง เชื้อดังกล่าวจึงฉวยโอกาสเข้าสู่กระแสเลือดทำให้หมูป่วยหรือตาย ส่วนเชื้อดังกล่าวเข้าสู่คนได้ 2 วิธี คือ เมื่อร่างกายคนมีแผลไปจับต้องหมูและกินเนื้อหมูหรือเลือดสด

 

ขอขอบคุณภาพและข่าวจากเดลินิวส์ https://www.dailynews.co.th/regional/590567







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS