คิกออฟ! ปฐมนิเทศโครงการจ้างงานฯ อว.-มข. ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 (มีคลิป)   


1 มิถุนายน 63 13:07:22


 

มข. คิกออฟโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จัดปฐมนิเทศผ่านระบบออนไลน์ ติวเข้มผู้ผ่านการคัดเลือก 8 จังหวัดภาคอีสาน  เน้นหนักการทำงานในระดับชุมชน ด้วยทักษะทางวิชาการ “สุวิทย์”เผย เตรียมขยายการจ้างงานเฟส 2 ครอบคลุมนักศึกษาและทุกระดับอาชีพเพื่อส่งมอบการช่วยเหลือจากรัฐบาลครอบคลุมทุกมิติ

    เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 1 มิ.ย.2563 ที่สำนักหอสมุดชั้น 7 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายสุวิทย์  เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตรกรรม หรือ อว. เป็นประธานการปฐมนิเทศโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ผ่านระบบวิดีโอออนไลน์ ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) โยมีนายสมศักดิ์  จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น,พร้อมด้วย รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข.,รศ,ดร,ศุภวัฒนากรณ์  วงศ์ธนวสุ หัวหน้าโครงการสร้างอาชีพ สร้างชีวิต สร้างชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ จากพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมรับการปฐมนิเทศผ่านระบบวิดีโอออนไลน์อย่างพร้อมเพียง

    นายสุวิทย์  เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตรกรรม หรือ อว. กล่าวว่า โครงการสร้างงานสำหรับประชาชน  ที่จะเข้ามาทำงานภายใต้หน่วยงานในสังกัดของ อว. จำนวน 42 หน่วยงาน ซึ่งวันนี้ มข.ได้จัดให้มีการปฐมนิเทศผู้ที่ผ่านเข้ารับการคัดเลือก ที่จะต้องเริ่มปฎิบัติงานทันที  ภายใต้ภารกิจของ มข.กำหนด  โดยผู้ได้รับการจ้างงานนอกจากจะได้งานทำแล้ว ยังจะได้รับการพัฒนาทักษะทางวิชาการในด้านต่างๆ แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ที่ได้รับการจ้างงานต้องการนำทักษะที่ได้รับการจากการทำงานไปประกอบอาชีพใหม่ สามารถเข้าร่วมโครงการการบ่มเพาะธุรกิจของหน่วยงานในสังกัดของ อว. ได้ทันทีอีกด้วย

    “โครงการดังกล่าว อว.ได้กำหนดให้ สถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐทั่วประเทศ 39 แห่ง เป็นผู้ดำเนินงาน โดยงานที่ผู้ได้รับการจ้างงานจะกระจายอยู่ในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ มากกว่า 1,500 ชุมชน การทำงานจะเน้นการพัฒนาชุมชนเมือง ชุมชนชนบท อาทิ การสำรวจฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อภายในชุมชน การวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางในด้านสาธารณสุขชุมชน การวางแผนและพัฒนาระบบ Smart Farming ภายในชุมชน การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลด้านการเกษตรภายในชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการขยะที่สามารถดำเนินการได้ในระยะสั้น การวางแผนและวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายในชุมชน การบริหารจัดการน้ำภายในชุมชน การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในชุมชน การสำรวจข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภายในชุมชน อย่างไรก็ตามในการจ้างงานนั้น กระทรวง อว. เตรียมที่จะพิจารณาขยายขอบเขตการจ้างงานเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฯที่เกิดขึ้น เป็นแผนงานระยะที่ 2 อีก 40,000 ตำแหน่ง และจะมีการจ้างงานในกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อีกกว่า 200,000 คน ซึ่งกระทรวง อว.จะมีการจ้างงานให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฯตามโครงการนี้รวมทั้งสิ้น 300,000 คน  ”

    ขณะที่ รศ.นพ.ชาญชัย  พานทองวิริยะกุล   รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า  มข.เป็นแม่ข่ายหลัก ในการเป็นหน่วยจ้างงาน และบริหารจัดการโครงการดังกล่าวนี้ครอบคลุมพื้นที่ 8จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ หนองคาย ร้อยเอ็ด มหาสารคาม หนองบัวลำภูเลย และจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งถือ เป็นโอกาสอันดีของ มข. ที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวง อว. ในการแก้ไข้ปัญหาที่สังคม ประเทศชาติเผชิญอยู่  ที่ผ่านมา มข. ได้มีการเปิดรับสมัคร ประชาชนทั่วไป ที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบของสถานการณ์เสร็จสิ้นแล้ ว ในภาพรวมทั้งหมด โดยมีผู้ผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 1,355 คนและในส่วนที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทำการคัดเลือก และมอบให้ มข. กำกับ ติดตาม อีก 70 คน รวมทั้งสิ้น 1,425 คน

    “ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจ้างงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภารกิจหน้าที่สำคัญ อยู่ 3 ประการ คือ  การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์เพื่อการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น สินทรัพย์ทางกายภาพ สินทรัพย์ทางสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ตามภูมิลำเนาของตนเอง แล้วบันทึกในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่  การ วิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกับที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่าย ที่ ร่วมดำเนินโครงการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมูลนิธิพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เพื่อหาโอกาสและวางแผน พัฒนา ต่อยอด เพื่อสร้างตนเองให้เป็นผู้ประกอบการ และการที่จะต้องเข้าร่วมในการพัฒนา ทักษะของตนเอง โดย มข. ได้มีการพัฒนาทักษะในลักษณะ Reskill - Upskill ตามศักยภาพของสินทรัพย์ที่มีในพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่ต่อยอดอาชีพเดิม หรือทักษะใหม่ที่รองรับการพัฒนากำลังคนของประเทศ ซึ่ง มข.และเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการ คาดหวังว่าจะเป็นโอกาส ที่ ทุกค น จะได้สร้างงาน สร้าง อาชีพ ได้อย่าง มั่นคง และ ยั่งยืนต่อไป”

 







เว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้ง   Cloud Web Hosting   Streaming Server   VPS